กรณีศึกษา Amazon จากถูกล้อเลียนเป็นฟองสบู่<br>วันนี้เป็นอีคอมเมิร์ซ ใหญ่สุดในโลก

กรณีศึกษา Amazon จากถูกล้อเลียนเป็นฟองสบู่<br>วันนี้เป็นอีคอมเมิร์ซ ใหญ่สุดในโลก

20 มี.ค. 2023
กรณีศึกษา Amazon จากถูกล้อเลียนเป็นฟองสบู่
วันนี้เป็นอีคอมเมิร์ซ ใหญ่สุดในโลก - BillionMoney
Amazon เป็นบริษัทอีคอมเมิร์ซยักษ์ใหญ่ และยังเป็นบริษัท มูลค่ามากสุดอันดับ 5 ของโลก เป็นรองเพียง Apple, Saudi Aramco, Microsoft และ Google เท่านั้น
ส่งผลให้ตัวผู้ก่อตั้งอย่าง Jeff Bezos เคยขึ้นเป็นมหาเศรษฐีที่รวยที่สุดในโลกเช่นกัน
แต่รู้หรือไม่ว่า กว่าที่ Amazon จะประสบความสำเร็จแบบทุกวันนี้ หากย้อนกลับไปเมื่อ 24 ปีก่อน บริษัทเคยโดนดูถูกเหยียดหยามอย่างหนักจากนักลงทุน
ในขณะที่ สื่อด้านการเงินยักษ์ใหญ่อย่าง Barron’s เองก็เคยเขียนบทความวิพากษ์วิจารณ์ Amazon อย่างดุเดือด อีกด้วย
แล้ว Amazon ทำอย่างไร
กว่าจะประสบความสำเร็จแบบวันนี้ ?
BillionMoney จะย่อยให้เข้าใจ แบบง่าย ๆ
“เมื่อไรบริษัทนี้ จะทำกำไรได้เสียที”
นี่คือคำสบประมาท ที่นิตยสาร Barron’s เคยพูดถึง Amazon ไว้เมื่อปี 1999
โดย Barron’s ขึ้นหน้าปกนิตยสาร เป็นรูประเบิดที่มีรูป Jeff Bezos อยู่ข้างใน พร้อมกับล้อชื่อบริษัทว่า “Amazon.Bomb” แทนที่ชื่อบริษัท Amazon.com
จากตรงนี้ ตีความได้ว่า Barron’s กำลังบอกว่า Amazon เป็นระเบิดเวลา ไม่ต่างอะไรไปจากฟองสบู่ที่รอวันแตก
นอกจากนั้น ก็ยังมีการเขียนวิพากษ์วิจารณ์ Amazon อย่างดุเดือดว่า Amazon ก็เป็นแค่ พ่อค้าคนกลางธรรมดา ๆ รายหนึ่งเท่านั้น และที่สำคัญคือ Amazon ทำธุรกิจมาได้ 5 ปี แต่ยังทำกำไรไม่ได้เลย
แล้ว Barron’s คือใคร ?
Barron’s คือสื่อด้านการเงินและการลงทุนชื่อดัง ที่ได้รับความเชื่อถืออย่างมาก ในวงการการลงทุนของสหรัฐอเมริกา
Barron’s เคยทำนายการเกิดวิกฤติฟองสบู่ดอตคอมได้อย่างแม่นยำ โดยทำนายไว้ก่อนวิกฤติจะเกิดขึ้นจริงราว 1 ปี
ด้วยเหตุนี้เอง จึงไม่น่าแปลกใจนัก ที่หลังจากบทความวิพากษ์วิจารณ์ Amazon ของ Barron’s ตีพิมพ์ออกมาแล้ว นักลงทุนจะคล้อยตามบทความดังกล่าว
โดยหลังจากนั้นเอง ราคาหุ้นของ Amazon ก็ปรับตัวลดลงกว่า 91% จากจุดสูงสุด อีกด้วย
ซึ่งการที่ทางนิตยสาร Barron’s วิพากษ์วิจารณ์ Amazon หนักขนาดนี้นั้นก็ไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจ
เพราะในตอนนั้นเอง Amazon ยังเป็นเพียงแค่เว็บไซต์ขายหนังสือ กับสินค้าอื่นที่รับซื้อสินค้าเพียงไม่กี่อย่างมาขายต่อ เท่านั้น
แถมช่วงนั้น Amazon ยังลงทุนอย่างหนักในการสร้างคลังสินค้าของตัวเอง จนบริษัทขาดทุนอย่างต่อเนื่องอยู่หลายปี อีกด้วย
แต่ถึงแม้จะได้รับเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก และประสบกับภาวะขาดทุนติดต่อกัน 7 ปี แต่ Amazon ก็สามารถเอาตัวรอดมาได้ ผ่านการบริหารจัดการที่ดี
โดยบริษัทสามารถ “บริหารสภาพคล่อง” ได้เป็นอย่างดี ด้วยการเก็บเงินจากลูกค้า ให้เร็วกว่ากำหนดชำระเงินของเจ้าของผลิตภัณฑ์ที่นำมาจัดจำหน่าย
วงจรเงินสด หรือรอบระยะเวลาตั้งแต่ที่เรา ได้รับวัตถุดิบมาผลิตเป็นสินค้าหรือบริการ จนถึงการเก็บเงินจากลูกค้า จึงติดลบ
สรุปสั้น ๆ ได้ว่า บริษัทสามารถบริหารสภาพคล่องได้ดีมาก
จนมาถึงปี 2001 บริษัทก็เริ่มทำกำไรได้สำเร็จเป็นครั้งแรก หลังจากที่ขาดทุนติดต่อกัน 7 ปี
นอกจากการบริหารสภาพคล่องแล้ว ด้วยวิสัยทัศน์ของผู้ก่อตั้งอย่าง Jeff Bezos ที่มองเห็นประโยชน์ของการลงทุนในระยะยาว มากกว่าการไปเอาใจนักลงทุน ที่มัวสนใจแต่ผลประกอบการรายไตรมาส
ทำให้หลังจากนั้น Amazon สามารถเอาชนะคู่แข่งในสมรภูมิค้าปลีกรายอื่น ๆ อย่าง eBay หรือ Walmart
ด้วยการเปิดตัวบริการที่เรียกว่า “Amazon Prime” ซึ่งเป็นบริการส่งสินค้าที่รวดเร็วเป็นพิเศษ
แลกกับการเก็บค่าสมาชิกเป็นรายเดือน โดยบริการนี้ใช้ประโยชน์จากเครือข่ายคลังสินค้า ที่ Amazon เคยลงทุนสร้างไว้
นอกจากนี้ ปัจจุบัน Amazon ยังได้เพิ่มสิทธิประโยชน์ของการเป็นสมาชิก Amazon Prime ไว้อีกหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็น
-การให้ส่วนลดในการสั่งซื้อสินค้า
-บริการสื่ออื่น ๆ เช่น ดูหนัง ฟังเพลง เล่นเกม ที่จะมีให้บริการเฉพาะใน Amazon
อีกหนึ่งคุณสมบัติที่โดดเด่นของ Amazon ที่ทำให้เหนือกว่าคู่แข่ง ก็คือ “ความเป็นเจ้าแห่งการสร้างสรรค์นวัตกรรม”
เมื่อบริษัทกลายมาเป็นผู้ชนะในสมรภูมิค้าปลีกแล้ว บริษัทก็ไม่ได้หยุดนิ่ง คอยกินบุญเก่าไปวัน ๆ แต่บริษัทยังคิดค้นบริการแบบใหม่ ซึ่งเป็นอีกธุรกิจที่มีอนาคต
เรากำลังพูดถึง บริการเก็บข้อมูลบนระบบคลาวด์ หรือที่เรียกว่า Amazon Web Services ย่อสั้น ๆ ว่า AWS ที่กลายเป็นผู้เล่นสำคัญในตลาดระบบคลาวด์
โดยในปี 2021 AWS มีส่วนแบ่งการตลาดในอุตสาหกรรมคลาวด์ถึง 33% ถือเป็นผู้เล่นใหญ่สุดในสหรัฐอเมริกา
จากข้อมูลเหล่านี้ เราก็น่าจะเข้าใจแล้วว่า การพัฒนาสินค้าและบริการใหม่ ๆ ส่งผลให้ Amazon มีโอกาสเติบโตในอุตสาหกรรมที่หลากหลาย นอกเหนือจากอุตสาหกรรมค้าปลีก
Amazon เติบโตต่อเนื่อง จนในปัจจุบัน มีมูลค่าบริษัทประมาณ 32 ล้านล้านบาท มากเกือบเป็น 2 เท่า เมื่อเทียบกับ GDP ประเทศไทย
ถึงตรงนี้ ก็คงไม่มีใครกล้าล้อเลียนว่า Amazon.Bomb อีกต่อไปแล้ว
คำทำนายของ Barron’s ที่แม้จะเคยคาดการณ์วิกฤติฟองสบู่ดอตคอมได้อย่างแม่นยำ แต่ก็น่าจะผิดมหันต์ ที่เคยคาดการณ์เกี่ยวกับ Amazon..
Amazon เป็นหนึ่งในธุรกิจ ที่กองทุน MEGA10 จะเข้าไปลงทุน โดยกองทุนนี้จะเข้าไปลงทุนใน 10 บริษัท ทรงอิทธิพล ที่สุดในโลก
สามารถจองซื้อได้ที่ https://finno.me/mega-lt22
คำเตือน: กองทุนรวมนี้มีลักษณะเฉพาะและความเสี่ยงเฉพาะ ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะ เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงของกองทุนรวมก่อนตัดสินใจลงทุน ดูข้อมูลเพิ่มเติมที่ www.talisam.co.th
ตัวอย่างรูปประกอบบทความครับ
© 2024 MONEY LAB. All rights reserved. Privacy Policy.