
รู้จัก หลักการ SMART ที่ช่วยให้เรา วางแผนการเงิน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
6 ม.ค. 2023
การจะสร้างชีวิตที่มีความมั่นคงทางการเงินนั้น นอกจากจะต้องมีความรู้ทางการเงินแล้ว ยังต้องมีการกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจนด้วย
เพราะการมีเป้าหมายทางการเงินที่ชัดเจน จะช่วยให้เราสามารถกำหนดแผนการ ซึ่งจะทำให้เราบรรลุเป้าหมายนั้นได้ง่ายขึ้น
ทั้งนี้ มีวิธีการในการวางเป้าหมายทางการเงินง่าย ๆ
ที่ใครก็สามารถนำไปใช้ได้ นั่นคือ กลยุทธ์ SMART
ที่ใครก็สามารถนำไปใช้ได้ นั่นคือ กลยุทธ์ SMART
และหากเราสงสัยว่า กลยุทธ์ SMART คืออะไร
BillionMoney จะย่อยให้เข้าใจ
BillionMoney จะย่อยให้เข้าใจ
ในการวางแผนทางการเงินส่วนตัวของเรานั้น อย่างแรก เราจำเป็นต้องแยกให้ออกระหว่าง
-“สิ่งที่เราอยากได้ (Wants)”
-“สิ่งที่เราจำเป็นต้องมี (Needs)”
-“สิ่งที่เราอยากได้ (Wants)”
-“สิ่งที่เราจำเป็นต้องมี (Needs)”
เพราะจะช่วยให้เรา สามารถเรียงลำดับความสำคัญได้ว่า เราควรจะนำเงินไปใช้กับอะไรบ้าง
เมื่อเราเข้าใจความสำคัญ และความแตกต่างระหว่าง สิ่งที่เราอยากได้ และสิ่งที่เราจำเป็นต้องมีแล้ว
ขั้นต่อไปก็คือ การเข้าใจว่าเป้าหมายทางการเงินของเรา
จะมีกรอบระยะเวลาเท่าไร โดยแบ่งเป็น
จะมีกรอบระยะเวลาเท่าไร โดยแบ่งเป็น
-เป้าหมายระยะสั้น คือ ไม่เกิน 1 ปี
โดยจะเน้นเก็บออมเงิน เพื่อสร้างความสะดวกสบายและซื้อสิ่งของฟุ่มเฟือย
โดยจะเน้นเก็บออมเงิน เพื่อสร้างความสะดวกสบายและซื้อสิ่งของฟุ่มเฟือย
-เป้าหมายระยะกลาง คือ ระหว่าง 1-5 ปี
โดยจะเน้นไปที่การสร้างรากฐานความเป็นอยู่ และคุณภาพชีวิตให้ดี
โดยจะเน้นไปที่การสร้างรากฐานความเป็นอยู่ และคุณภาพชีวิตให้ดี
-เป้าหมายระยะยาว คือ มากกว่า 5 ปี
เป็นการเน้นสร้างความมั่งคั่งให้กับชีวิตในระยะยาว
เป็นการเน้นสร้างความมั่งคั่งให้กับชีวิตในระยะยาว
ทั้งนี้ เราสามารถนำหลัก SMART มาใช้ในการกำหนดเป้าหมายทางการเงินของเรา
โดย SMART ประกอบไปด้วย
-Specific (S) คือ มีความชัดเจน
-Measurable (M) คือ สามารถวัดผลได้
-Achievable (A) คือ ทำให้สำเร็จได้จริง
-Realistic (R) คือ สอดคล้องกับความเป็นจริง
-Time Bound (T) คือ มีกรอบเวลาที่ชัดเจน
โดย SMART ประกอบไปด้วย
-Specific (S) คือ มีความชัดเจน
-Measurable (M) คือ สามารถวัดผลได้
-Achievable (A) คือ ทำให้สำเร็จได้จริง
-Realistic (R) คือ สอดคล้องกับความเป็นจริง
-Time Bound (T) คือ มีกรอบเวลาที่ชัดเจน
ตัวอย่างของการใช้หลัก SMART ในการกำหนดเป้าหมายระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาวนั้น ก็ขอยกตัวอย่างของคุณ A ขึ้นมาเล่าเพื่อให้เข้าใจ เช่น
ในระยะสั้น คือ ภายในระยะเวลา 10 เดือนข้างหน้า
คุณ A อยากมีเงินเก็บทั้งหมด 40,000 บาท เพื่อซื้อ iPhone 14
คุณ A อยากมีเงินเก็บทั้งหมด 40,000 บาท เพื่อซื้อ iPhone 14
ในระยะกลาง คือ ภายในระยะเวลา 5 ปีข้างหน้า
คุณ A อยากมีเงินเก็บทั้งหมด 600,000 บาท ไว้สำหรับดาวน์คอนโดมิเนียม เพื่อมีที่อยู่อาศัยเป็นของตัวเอง
คุณ A อยากมีเงินเก็บทั้งหมด 600,000 บาท ไว้สำหรับดาวน์คอนโดมิเนียม เพื่อมีที่อยู่อาศัยเป็นของตัวเอง
ในระยะยาว คือ ภายในระยะเวลา 30 ปีข้างหน้า
คุณ A อยากมีเงินเก็บทั้งหมด 6,000,000 บาท เพื่อไว้ใช้ในยามเกษียณจากการทำงานแล้ว
คุณ A อยากมีเงินเก็บทั้งหมด 6,000,000 บาท เพื่อไว้ใช้ในยามเกษียณจากการทำงานแล้ว
หลังจากใช้หลักการ SMART มาช่วยเรากำหนดเป้าหมายทางการเงินแล้ว ขั้นต่อไปก็คือ การทำแผนการปฏิบัติที่ชัดเจน เพื่อทำเป้าหมายให้กลายเป็นจริง
โดยขั้นตอนดังกล่าว ก็จะครอบคลุมไปถึงเรื่อง การหารายได้เพิ่ม การควบคุมรายจ่าย และการวางแผนการลงทุน เพื่อให้สอดคล้องกับแผนการเงินของเรานั่นเอง
อ่านมาถึงตรงนี้ เราก็คงพอจะเข้าใจแล้วใช่ไหมว่า การนำหลัก SMART มาใช้กำหนดเป้าหมายทางการเงินในแต่ละช่วงเวลา เป็นอย่างไร
การจะสร้างชีวิตของเรา ให้มีทั้งความมั่นคงและความมั่งคั่งทางการเงิน ได้อย่างยั่งยืนนั้น นอกจากจะต้องมีความรู้ทางการเงินขั้นพื้นฐานแล้ว เราก็ควรมีเป้าหมายที่ชัดเจน
และต้องรู้ว่า เป้าหมายนั้น เป็นเป้าหมายที่ต้องใช้ระยะเวลาเท่าไร จึงจะทำให้สำเร็จได้ เพื่อให้แผนการเงินของเราสามารถทำให้สำเร็จได้จริง..
Reference
-คอร์สเรียน เงินทองต้องวางแผน
-คอร์สเรียน เงินทองต้องวางแผน