
ดอกเบี้ยลอยตัวหรือคงที่ แบบไหนดีกว่ากัน ?
20 ก.ค. 2022
ในช่วงที่ผ่านมามีข่าวว่าธนาคารที่ปล่อยสินเชื่อบ้าน ทยอยยกเลิกดอกเบี้ยแบบคงที่ และปรับไปเป็นดอกเบี้ยแบบลอยตัว
ซึ่งการปรับเปลี่ยนนี้ ก็ล้อไปตามการคาดการณ์ที่ว่าธนาคารแห่งประเทศไทยจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
สำหรับใครที่กำลังหาคำตอบ
ระหว่างดอกเบี้ยแบบลอยตัว กับดอกเบี้ยแบบคงที่ แบบไหนดีกว่ากัน ?
BillionMoney จะสรุปให้ฟัง
ระหว่างดอกเบี้ยแบบลอยตัว กับดอกเบี้ยแบบคงที่ แบบไหนดีกว่ากัน ?
BillionMoney จะสรุปให้ฟัง
ปกติแล้วเวลาเราขอสินเชื่อบ้าน
ธนาคารจะมีดอกเบี้ยให้เราเลือก 2 แบบ
ธนาคารจะมีดอกเบี้ยให้เราเลือก 2 แบบ
1. ดอกเบี้ยคงที่
2. ดอกเบี้ยลอยตัว
2. ดอกเบี้ยลอยตัว
เริ่มจากดอกเบี้ยคงที่ ก็คืออัตราดอกเบี้ยที่มีการกำหนดตัวเลขเอาไว้อย่างชัดเจน ไม่เปลี่ยนแปลง
ไม่ว่าเศรษฐกิจจะเป็นอย่างไร หรือธนาคารแห่งประเทศไทยจะปรับดอกเบี้ยหรือไม่
ไม่ว่าเศรษฐกิจจะเป็นอย่างไร หรือธนาคารแห่งประเทศไทยจะปรับดอกเบี้ยหรือไม่
เช่น ถ้าเรากู้เงิน 1,000,000 บาท ที่อัตราดอกเบี้ยคงที่ 4% ต่อปี
เราจะเสียดอกเบี้ย ปีละ 40,000 บาท
เราจะเสียดอกเบี้ย ปีละ 40,000 บาท
ในขณะที่ดอกเบี้ยลอยตัว ก็คืออัตราดอกเบี้ยที่ปรับเปลี่ยนขึ้นหรือลงได้
ล้อไปกับดอกเบี้ยนโยบายที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด
สำหรับสินเชื่อบ้านแบบดอกเบี้ยลอยตัว จะเป็นรูปแบบของ “MRR ลบค่าคงที่”
ล้อไปกับดอกเบี้ยนโยบายที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด
สำหรับสินเชื่อบ้านแบบดอกเบี้ยลอยตัว จะเป็นรูปแบบของ “MRR ลบค่าคงที่”
โดย MRR หรือ Minimum Retail Rate จะเป็นตัวเลขที่มีการปรับเปลี่ยนอยู่เสมอ
ซึ่งแต่ละธนาคารก็จะไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทย
โครงสร้างทางการเงิน และการประเมินความเสี่ยงลูกค้าของแต่ละธนาคาร
ซึ่งแต่ละธนาคารก็จะไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทย
โครงสร้างทางการเงิน และการประเมินความเสี่ยงลูกค้าของแต่ละธนาคาร
ตัวอย่างเช่น ถ้าเรากู้เงิน 1,000,000 บาท และมีอัตราดอกเบี้ยเท่ากับ MRR - 2% ต่อปี
ในปีที่ 1 ธนาคารกำหนดว่า MRR คือ 6.5%
ดอกเบี้ยที่เราต้องจ่ายจะเท่ากับ 4.5% ต่อปี
คิดเป็นเงิน 45,000 บาทต่อปี
ดอกเบี้ยที่เราต้องจ่ายจะเท่ากับ 4.5% ต่อปี
คิดเป็นเงิน 45,000 บาทต่อปี
พอมาในปีที่ 2 ธนาคารปรับ MRR เหลือ 5.5%
ดอกเบี้ยที่เราต้องจ่ายจะเท่ากับ 3.5% ต่อปี
คิดเป็นเงิน 35,000 บาทต่อปี
ดอกเบี้ยที่เราต้องจ่ายจะเท่ากับ 3.5% ต่อปี
คิดเป็นเงิน 35,000 บาทต่อปี
จะเห็นได้ว่าเมื่อเทียบกับดอกเบี้ยแบบคงที่แล้ว
บางครั้งดอกเบี้ยแบบลอยตัวก็ต้องจ่ายมากกว่า แต่บางครั้งก็จ่ายน้อยกว่า
บางครั้งดอกเบี้ยแบบลอยตัวก็ต้องจ่ายมากกว่า แต่บางครั้งก็จ่ายน้อยกว่า
แล้วเราในฐานะลูกหนี้
เราควรจะเลือกอัตราดอกเบี้ยแบบไหน ?
เราควรจะเลือกอัตราดอกเบี้ยแบบไหน ?
- อย่างในสถานการณ์ปัจจุบัน ที่ดอกเบี้ยมีแนวโน้มสูงขึ้น
การเลือกจ่ายดอกเบี้ยแบบคงที่จะดีกว่า เหมือนอย่างที่หลายบริษัทกำลังออกหุ้นกู้แบบดอกเบี้ยคงที่อยู่ในเวลานี้
การเลือกจ่ายดอกเบี้ยแบบคงที่จะดีกว่า เหมือนอย่างที่หลายบริษัทกำลังออกหุ้นกู้แบบดอกเบี้ยคงที่อยู่ในเวลานี้
เนื่องจากลูกหนี้ได้ล็อกอัตราดอกเบี้ยเอาไว้แล้ว จึงไม่ต้องจ่ายดอกเบี้ยที่สูงขึ้นแม้ว่าธนาคารแห่งประเทศไทยจะปรับขึ้นดอกเบี้ยก็ตาม
- ในทางกลับกัน ถ้าเราคาดการณ์ว่าในอนาคต ดอกเบี้ยมีแนวโน้มที่จะลดลง
การเลือกจ่ายดอกเบี้ยแบบลอยตัวก็จะดีกว่า เนื่องจากเราจะได้จ่ายดอกเบี้ยถูกลง ตามสภาพเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง
แต่สำหรับบางคนแล้ว อาจเลือกจ่ายดอกเบี้ยแบบคงที่ในทุก ๆ ครั้งที่ขอสินเชื่อ
เพราะได้ประโยชน์ในเรื่องความสบายใจ ไม่ต้องกังวลหรือคาดเดากับเศรษฐกิจในอนาคต
ที่มีความผันผวนสูง และยังทำให้สามารถวางแผนการเงินได้อย่างชัดเจนอีกด้วย
เพราะได้ประโยชน์ในเรื่องความสบายใจ ไม่ต้องกังวลหรือคาดเดากับเศรษฐกิจในอนาคต
ที่มีความผันผวนสูง และยังทำให้สามารถวางแผนการเงินได้อย่างชัดเจนอีกด้วย
ได้รู้มุมมองของลูกหนี้กันไปแล้ว
ในอีกมุมหนึ่งหากในสถานการณ์ที่เราเป็นเจ้าหนี้
หรือเราอยากลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลหรือหุ้นกู้เอกชน
ดอกเบี้ยแบบไหนจะคุ้มค่ามากกว่ากัน ?
ในอีกมุมหนึ่งหากในสถานการณ์ที่เราเป็นเจ้าหนี้
หรือเราอยากลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลหรือหุ้นกู้เอกชน
ดอกเบี้ยแบบไหนจะคุ้มค่ามากกว่ากัน ?
หลักการวิธีคิดนั้น ก็จะตรงข้ามกับมุมมองของลูกหนี้ คือ
ถ้าเป็นช่วงดอกเบี้ยขาลง
เราควรลงทุนในตราสารหนี้ที่จ่ายดอกเบี้ยแบบคงที่
เนื่องจากเราจะได้รับดอกเบี้ยเท่าเดิม แม้ว่าดอกเบี้ยรอบตัวจะปรับลดลง
เราควรลงทุนในตราสารหนี้ที่จ่ายดอกเบี้ยแบบคงที่
เนื่องจากเราจะได้รับดอกเบี้ยเท่าเดิม แม้ว่าดอกเบี้ยรอบตัวจะปรับลดลง
แต่ถ้าเป็นช่วงดอกเบี้ยขาขึ้นอย่างในตอนนี้
เราก็ควรลงทุนในตราสารหนี้ที่จ่ายดอกเบี้ยแบบลอยตัว
เพราะเราจะได้รับดอกเบี้ยสูงขึ้นไปตามดอกเบี้ยรอบตัวที่ปรับตัวสูงขึ้น
เราก็ควรลงทุนในตราสารหนี้ที่จ่ายดอกเบี้ยแบบลอยตัว
เพราะเราจะได้รับดอกเบี้ยสูงขึ้นไปตามดอกเบี้ยรอบตัวที่ปรับตัวสูงขึ้น
ซึ่งเป็นเหตุผลเดียวกันกับที่ตอนนี้หลายธนาคารเริ่มยกเลิกสินเชื่อแบบดอกเบี้ยคงที่ และปรับมาเป็นดอกเบี้ยแบบลอยตัวนั่นเอง
สำหรับดอกเบี้ยแบบลอยตัวของตราสารหนี้ ก็จะมีวิธีระบุหลายรูปแบบ
เช่น ปรับเปลี่ยนตามอัตราเงินเฟ้อ หรือปรับเปลี่ยนตามผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล เป็นต้น
เช่น ปรับเปลี่ยนตามอัตราเงินเฟ้อ หรือปรับเปลี่ยนตามผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล เป็นต้น
และถึงแม้ว่าเราจะไม่ได้ลงทุนอะไรเลย
แต่การเข้าใจความแตกต่างของดอกเบี้ยในแต่ละแบบ
ก็จะช่วยให้เราสามารถวางแผนค่าใช้จ่าย และประหยัดเงินในฐานะลูกหนี้ได้ เช่นกัน..
แต่การเข้าใจความแตกต่างของดอกเบี้ยในแต่ละแบบ
ก็จะช่วยให้เราสามารถวางแผนค่าใช้จ่าย และประหยัดเงินในฐานะลูกหนี้ได้ เช่นกัน..