
อธิบาย Skin in the Game แนวคิดที่บอกว่า เราควรลงทุนกับผู้บริหาร ที่พร้อมเดิมพัน กับกิจการของตัวเอง
22 เม.ย. 2025
KTAM x MONEY LAB
หลายคนน่าจะเคยไปร้านอาหาร ที่เจ้าของร้านนั่งอยู่ที่โต๊ะคิดเงิน คอยดูแลเอาใจใส่การบริการ รวมถึงรสชาติอาหารของทางร้าน ให้ได้คุณภาพอยู่เสมอ หรือแม้แต่บางครั้งก็ลงไปทำอาหารเองเลยก็มี
ซึ่งหลังจากไปทานร้านแบบนี้ เราก็มักจะกลับมาด้วยประสบการณ์ดี ๆ อยู่บ่อยครั้ง เมื่อเทียบกับร้านอาหารที่เจ้าของปล่อยให้พนักงานดูแล 100%
นั่นก็เป็นเพราะว่า ถ้าหากคุณภาพของทางร้านตกลงมากเกินไป จนลูกค้าส่วนใหญ่ไม่พอใจ สิ่งที่จะตามมาก็คือ ตัวเจ้าของร้านเองก็ขาดรายได้ และอาจถึงขั้นทำให้กิจการ ที่ลงทุนลงแรงปั้นมากับมือ ต้องปิดตัวลงไปเลยก็ได้
เรื่องราวนี้ก็คือตัวอย่างง่าย ๆ ของแนวคิดที่เรียกว่า “Skin in the Game” ซึ่งก็คือ การที่เจ้าของ หรือผู้บริหารนั้น มีส่วนได้ส่วนเสียไปกับกิจการที่ตัวเองกำลังดูแลอยู่
และรู้หรือไม่ว่าแนวคิดนี้เอง เราก็สามารถนำมาปรับใช้ กับการเฟ้นหาบริษัท ที่จะเข้ามาอยู่ในพอร์ตการลงทุนของเราได้เหมือนกัน
แล้วแนวคิด Skin in the Game จะช่วยให้เราได้ลงทุนกับสุดยอดธุรกิจ ที่มีสุดยอดผู้บริหารเป็นคนดูแลได้อย่างไร ?
MONEY LAB จะย่อยเรื่องการเงิน การลงทุน ให้เข้าใจง่าย ๆ
แนวคิด Skin in the Game นั้น เป็นที่โด่งดังจากหนังสือที่มีชื่อเดียวกัน จากคุณ Nassim Taleb นักคณิตศาสตร์ และอดีตผู้จัดการกองทุน Hedge Fund เจ้าของทฤษฎี Black Swan
โดยคำว่า Skin ในชื่อแนวคิด Skin in the Game นั้นมาจากศัพท์สแลงของวงการพนัน อันหมายถึง เงินที่ใช้เดิมพัน เพราะฉะนั้น การที่เราจะลงทุนด้วยแนวคิด Skin in the Game จึงหมายถึง การลงทุนกับธุรกิจที่เจ้าของ หรือผู้บริหาร มีส่วนได้ส่วนเสียกับธุรกิจตัวเอง
ด้วยการลงทุนจำนวนมากในธุรกิจ จนกลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ และทำให้ความมั่งคั่งมากมายของเจ้าของและผู้บริหารเหล่านั้น ผูกติดกับมูลค่าของบริษัท
ผู้บริหารเหล่านั้น จึงต้องมุ่งมั่นและทำทุกวิถีทาง เพื่อให้ธุรกิจของตัวเองทั้งอยู่รอดได้และเติบโตอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ความมั่งคั่งของตัวเองเติบโตในระยะยาว
ต่างจากผู้บริหารทั่วไป ที่ถูกจ้างมาเพื่อบริหาร และรับเงินเดือนตามสัญญา แถมความมั่งคั่งของผู้บริหารเหล่านั้น ยังไม่ถูกกระทบ แม้มูลค่าของบริษัทจะลดลงก็ตาม จึงมักจะมีแรงจูงใจให้บริหารเพื่อสร้างผลงานในระยะสั้น ๆ เพื่อที่ตัวเองจะไม่ถูกไล่ออก
เพราะฉะนั้น สิ่งที่สร้างความแตกต่าง ระหว่างธุรกิจที่ผู้บริหารมี Skin in the Game กับธุรกิจทั่วไปก็คือ
1. ผู้บริหารมีวิสัยทัศน์กว้างไกลกว่า
เมื่อคุณเป็นทั้งผู้ก่อตั้งและเจ้าของ การที่จะมีคนมากดดันแล้วไล่คุณออกจากบริษัทตัวเอง ก็เป็นเรื่องที่ค่อนข้างยาก ทำให้การตัดสินใจลงทุนในสิ่งที่จะสร้างผลประโยชน์ในระยะยาวให้แก่บริษัท และอดทนรอให้การลงทุนนั้นผลิดอกออกผล จึงทำได้ง่ายขึ้น
เหมือนกับคุณ Warren Buffett ที่เข้าซื้อกิจการบริษัท BNSF ผู้ให้บริการรถไฟที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐฯ เป็นเงินกว่า 1.7 ล้านล้านบาท หลังเกิดวิกฤติเศรษฐกิจซับไพรม์ จนหลาย ๆ คนมองว่าเขาเสียสติ และถ้าคุณ Buffett เป็น CEO ของบริษัทไหนสักแห่ง อาจจะถึงขั้นโดนไล่ออกไปแล้ว
แต่อีกประมาณ 10 กว่าปีต่อมา กาลเวลาก็ได้พิสูจน์ว่า การลงทุนใน BNSF คือหนึ่งในการลงทุนที่ดีที่สุดของเขา เพราะมูลค่าบริษัทของ BNSF เติบโตเป็น 7 ล้านล้านบาท แถมปันผลที่เขาได้มาตลอดเวลาที่ลงทุน รวมแล้วก็มากกว่า 1.8 ล้านล้านบาทด้วย
2. บริหารเงินของผู้ถือหุ้นไม่ต่างกับเงินของตัวเอง
ผู้บริหารทั่วไป มักจะไม่ได้ยึดโยงผลประโยชน์ของตัวเองกับมูลค่าหุ้น แบบเดียวกันกับผู้ถือหุ้น ทำให้มีแนวโน้มที่จะตัดสินใจบริหารธุรกิจ โดยให้ตัวเองได้ประโยชน์เป็นสำคัญ นั่นก็คือการรักษาผลงานของตนเอง เพื่อจะได้ดำรงตำแหน่งในองค์กรได้อยู่ อย่างที่กล่าวไปข้างต้น จนในบางครั้งก็ทำให้ธุรกิจต้องลงทุนเสี่ยง ๆ เพื่อสร้างผลตอบแทนในระยะสั้นโดยไม่จำเป็น
แต่ไม่ใช่กับผู้บริหารที่มี Skin in the Game อย่างเช่น คุณ Mark Leonard ผู้ก่อตั้งและเจ้าของบริษัท Constellation Software ตำนานหุ้น 260 เด้ง แห่งประเทศแคนาดา ที่ความมั่งคั่งส่วนใหญ่ของเขาก็คือหุ้นในบริษัท ผู้ซึ่งมีกฎเหล็กในการซื้อกิจการที่ต้องทั้งคุณภาพดีและราคาถูกเท่านั้น เพื่อสร้างผลตอบแทนให้ได้อย่างน้อย 20% แก่บริษัท
นอกจากนี้เขายังเคยกล่าวผ่านจดหมายถึงผู้ถือหุ้นในปี 2557 ด้วยว่า เขาได้ลดเงินเดือนของตัวเองลง เพื่อกิจการจะได้นำเงินไปลงทุนต่อได้มากขึ้น นอกจากนี้ตัวเขาเองยังเดินทางด้วยตั๋วเครื่องบินชั้นประหยัด และนอนโรงแรมราคาถูกอยู่เสมอ เพื่อไม่ให้ตัวเองรู้สึกเอาเปรียบผู้ถือหุ้น
3. พร้อมสำหรับโอกาสและการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ
เพื่อให้ความมั่งคั่งของตัวเองเติบโตต่อไป พร้อมทั้งทำให้มั่นใจว่ากิจการจะอยู่ยั้งยืนยงต่อไป เหล่าผู้บริหารที่มี Skin in the Game ก็พร้อมที่จะมองหาโอกาสการเติบโตใหม่ ๆ รวมถึงไม่ย่อท้อต่อการเปลี่ยนแปลง
เหมือนกับที่คุณ Jeff Bezos ผู้ก่อตั้ง Amazon ที่ขยับตัวเองจากธุรกิจ E-Commerce ที่เลี่ยงไม่ได้กับการเผชิญการแข่งขันทางด้านราคาอย่างรุนแรง มาเป็นธุรกิจคลาวด์อย่าง Amazon Web Services ที่อัตรากำไรสูงกว่า
ซึ่งต่อมา Amazon Web Services ก็กลายเป็นธุรกิจที่รายได้เติบโตเร็วที่สุดของบริษัท แถมยังเป็นธุรกิจตัวทำกำไรหลักของ Amazon อีกด้วย
จะเห็นได้ว่าการลงทุนกับธุรกิจ ที่ผู้บริหารมี Skin in the Game นั้น มักจะนำพาเราไปพบเจอกับ บริษัทที่มีคุณภาพซึ่งสร้างผลตอบแทนจากการลงทุนจำนวนมาก ให้กับผู้ถือหุ้นอย่างเราในระยะยาว
อย่างไรก็ตาม การจะเฟ้นหาบริษัทที่ผู้บริหารมี Skin in the Game นั้น อาจต้องใช้เวลา เพราะเป็นการวิเคราะห์บริษัท แบบที่มองทะลุอีกขั้น ไปยังความมุ่งมั่นตั้งใจและวิสัยทัศน์ของผู้บริหาร ที่งบการเงินไม่สามารถบอกเราได้
ทำให้นักลงทุนส่วนใหญ่ โดยเฉพาะคนที่ทำงานประจำหรือดูแลธุรกิจของตัวเองไปด้วย อาจไม่ค่อยมีเวลามานั่งเฟ้นหาธุรกิจอันยอดเยี่ยมเหล่านี้ อันมีอยู่หลายร้อยแห่งทั่วโลกด้วยตัวเอง
ซึ่งกองทุนเปิดเคแทม Global Founders and Owners หรือ KT-GFO (ความเสี่ยงระดับ 6) นี้เอง ที่จะมาช่วยแก้ปัญหานี้ให้กับเรา ด้วยการลงทุนในกองทุนหลักอย่าง Invesco Global Founders & Owners Fund ที่มีนโยบายลงทุนแบบบริหารการลงทุนเชิงรุก (Active Investing) ผ่านการวิเคราะห์หุ้นแบบรายตัว (Bottom-up)
โดยกองทุนหลักจะลงทุนแบบกระจุกตัวในหุ้นราว 25 ถึง 35 บริษัท ที่คัดเลือกมาจากกลุ่มบริษัททั่วโลก ที่นิยามว่าเป็น Founders & Owners ซึ่งหมายถึงบริษัทที่มีผู้ก่อตั้ง, ครอบครัวก่อตั้ง หรือมีผู้บริหาร ถือครองหุ้นมากกว่า 5% ของจำนวนหุ้นที่ออกและชำระแล้วทั้งหมดของบริษัท หรือต้องมีมูลค่าของหุ้นที่ถือครองอยู่ไม่น้อยกว่า 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
นอกจากนี้ จะโฟกัสเฉพาะไอเดียการลงทุนที่ดีที่สุดเท่านั้น พร้อมทั้งทำการประเมินผลตาม Checklist และสร้างโมเดลวิเคราะห์ ซึ่งเมื่อได้บริษัทที่เหมาะสมแล้ว ก็จะทำการสร้างพอร์ตการลงทุนโดยเปรียบเทียบหุ้นแต่ละตัว ด้วยการใช้ Model ข้อมูล IRR ก่อนจะทำการโฟกัสไปที่หุ้นที่ดีที่สุด และสุดท้ายจะทำการดูแลพอร์ตการลงทุนอย่างเข้มข้น เพื่อให้มั่นใจว่ายังเป็นไปตามที่ประมาณการไว้ (ที่มา : Invesco, ข้อมูล ณ วันที่ 31 ม.ค. 68)
ในเบื้องต้น หลักทรัพย์ที่มีสัดส่วนมากที่สุด 5 อันดับแรก ที่ทางกองทุน Invesco Global Founders & Owners Fund ได้ลงทุน อ้างอิงจากข้อมูล ณ วันที่ 31 มกราคม 2568 ได้แก่ Constellation Software, 3i, Microsoft, Recordati Industria Chimica e Farmaceutica และ Thermo Fisher Scientific (สัดส่วนการลงทุนสามารถเปลี่ยนแปลงได้ โดยขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุนรวมหลัก)
เพราะฉะนั้น ถ้าหากเราคือคนที่อยากนำเงินไปลงทุน กับธุรกิจที่ผู้บริหารมี Skin in the Game ซึ่งมุ่งมั่นจะสร้างประโยชน์ให้กับผู้ถือหุ้นทุกคนในระยะยาว โดยไม่ต้องเสียเวลาเลือกเอง
กองทุน KT-GFO ก็ถือว่าเป็นทางเลือกการลงทุน ที่น่าสนใจไม่น้อยเลย..
ผู้ที่สนใจสามารถสอบถามข้อมูลและขอรับหนังสือชี้ชวนได้ทุกวันทำการได้ที่ บลจ.กรุงไทย โทร. 0-2686-6100 กด 9 หรือธนาคารยูโอบีทุกสาขา และผู้สนับสนุนการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน (ถ้ามี) หรือศึกษารายละเอียดได้ที่ https://bit.ly/KTSTSignIn
คำเตือน : กองทุนนี้มีความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน ทั้งนี้ กองทุนมีนโยบายป้องกันความเสี่ยงโดยดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน ในกรณีที่กองทุนไม่ได้มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนทั้งจำนวน ผู้ลงทุนอาจจะขาดทุนหรือจะได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้ / ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน
References
-https://medium.com/incerto/what-do-i-mean-by-skin-in-the-game-my-own-version-cc858dc73260
-https://medium.com/@flewisdlg/10-years-since-bnsf-2533ca72db84
-https://www.csisoftware.com/about-us/being-acquired
-https://quartr.com/insights/business-philosophy/collection-mark-leonards-shareholder-letters
-https://fortune.com/longform/amazon-web-services-ceo-adam-selipsky-cloud-computing/
-https://medium.com/incerto/what-do-i-mean-by-skin-in-the-game-my-own-version-cc858dc73260
-https://medium.com/@flewisdlg/10-years-since-bnsf-2533ca72db84
-https://www.csisoftware.com/about-us/being-acquired
-https://quartr.com/insights/business-philosophy/collection-mark-leonards-shareholder-letters
-https://fortune.com/longform/amazon-web-services-ceo-adam-selipsky-cloud-computing/
Tag: KTAM