ทำไมปีนี้ ถึงมีแต่ดรามา คนกู้ซื้อบ้าน แบกดอกเบี้ยจนอ่วม | MONEY LAB
ตลอดทั้งปีนี้ เรามักจะเห็นโพสต์ในโลกออนไลน์ เกี่ยวกับผู้คนที่ต้องตกใจ เมื่อเงินที่ตัวเองจ่ายเพื่อผ่อนบ้าน กลับถูกตัดเป็นดอกเบี้ยไปเกือบทั้งหมด และเหลือไปตัดเงินต้น เพียงน้อยนิดเท่านั้น
ทำไมปีนี้ ถึงมีแต่ดรามา คนกู้ซื้อบ้าน แบกดอกเบี้ยจนอ่วม
6 พ.ย. 2023
ถ้าหากเราลองดูดี ๆ ก็จะพบว่า ที่คนกำลังประสบปัญหาเรื่องผ่อนบ้านในปัจจุบัน ไม่ได้มีเพียงแค่ ความไม่เข้าใจเรื่องการเงิน หรือเป็นเพราะเศรษฐกิจแย่เท่านั้น
แต่ยังเป็นผลสืบเนื่องมาจาก มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ในช่วงล็อกดาวน์ที่ผ่านมาอีกด้วย
แล้วอะไรที่เป็นสาเหตุ ที่ทำให้การผ่อนบ้าน กลายเป็นเรื่องดรามา อันดับต้น ๆ ของชาวไทย ในช่วงปีนี้ ?
MONEY LAB จะเล่าเรื่องการเงิน ที่โรงเรียนไม่เคยสอน ให้เข้าใจ
MONEY LAB จะเล่าเรื่องการเงิน ที่โรงเรียนไม่เคยสอน ให้เข้าใจ
อย่างที่เราทราบกันดีว่า เมื่อ 3 ปีก่อน ทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทยเอง ต้องเผชิญกับสถานการณ์ล็อกดาวน์ จนนำไปสู่การหดตัวของเศรษฐกิจ
ทำให้ในตอนนั้น ประเทศไทยต้องมีทั้งมาตรการทางการคลัง และทางการเงิน เพื่อมากระตุ้นเศรษฐกิจ
มาตรการทางการคลัง ก็เช่น คนละครึ่ง และการลดภาษีต่าง ๆ
ส่วนมาตรการทางการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ใช้การ “ลดดอกเบี้ย” เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนเกิดการใช้จ่าย และจูงใจให้เอกชนกู้เงินไปลงทุน
ซึ่งการลดดอกเบี้ยนโยบาย ของธนาคารแห่งประเทศไทย ก็จะส่งผลกระทบ ต่ออัตราดอกเบี้ยในการกู้ซื้อบ้าน ของคนไทยด้วย
ก่อนจะรู้ว่า ธนาคารคิดอัตราดอกเบี้ยกู้ซื้อบ้านอย่างไร เราต้องรู้จักกับ “MRR” ก่อน
ซึ่งถือเป็นตัวเลขสำคัญของเรื่องนี้เลย
ซึ่งถือเป็นตัวเลขสำคัญของเรื่องนี้เลย
MRR ย่อมาจาก Minimum Retail Rate ซึ่งเป็นดอกเบี้ยที่ธนาคารจะคิดกับลูกค้ารายย่อยชั้นดี
โดยที่ MRR ของแต่ละธนาคาร อาจจะไม่เท่ากัน
โดยที่ MRR ของแต่ละธนาคาร อาจจะไม่เท่ากัน
ยกตัวอย่างเช่น ธนาคาร A กำหนดให้ MRR = 7%
และคิดอัตราดอกเบี้ยกู้ซื้อบ้านไว้ที่ MRR-3.75% ต่อปี
และคิดอัตราดอกเบี้ยกู้ซื้อบ้านไว้ที่ MRR-3.75% ต่อปี
หมายความว่า ถ้าเราจะกู้เงิน เพื่อซื้อบ้านกับธนาคาร A ก็จะต้องจ่ายดอกเบี้ย เท่ากับ 3.25% ต่อปี
MRR ก็คล้ายกับดอกเบี้ยชนิดอื่น ๆ ที่จะล้อไปกับดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทย
จากข้อมูลเมื่อปี 2563 พบว่า MRR ของธนาคารใหญ่ ๆ ณ ตอนนั้น อยู่ที่ประมาณ 6% เท่านั้น
ส่งผลให้ ถ้าคำนวณดอกเบี้ยกู้ซื้อบ้านที่ MRR-3.75% ต่อปี แปลว่า ดอกเบี้ยกู้ซื้อบ้านเมื่อปี 2563 ส่วนใหญ่แทบจะไม่เกิน 3% เลย
นอกจากนี้ ทางธนาคารแห่งประเทศไทย ยังมีการผ่อนคลายมาตรการ LTV ที่จะอนุญาตให้ธนาคารปล่อยกู้ซื้อบ้านได้เต็ม 100% ของมูลค่าบ้าน
จากเดิมที่ธนาคาร จะปล่อยกู้แค่ 80-90%
จากเดิมที่ธนาคาร จะปล่อยกู้แค่ 80-90%
หรือแปลว่า เราจะสามารถซื้อบ้านได้ โดยดาวน์แค่ 0% นั่นเอง
เมื่อมี 2 ปัจจัยเอื้ออำนวย คือ
1.ดอกเบี้ยถูก
2.ซื้อบ้านใหม่ได้ โดยไม่ต้องวางเงินดาวน์
จึงไม่แปลกที่ผู้คนที่ยังพอมีเงินเหลือ จะทยอยกู้ซื้อบ้านกันในช่วงนั้น
จึงไม่แปลกที่ผู้คนที่ยังพอมีเงินเหลือ จะทยอยกู้ซื้อบ้านกันในช่วงนั้น
สะท้อนจาก มูลค่าสินเชื่อที่อยู่อาศัยปล่อยใหม่ ที่ทางธนาคารแห่งประเทศไทยรวบรวมไว้ จะเห็นได้ว่าการปล่อยกู้ซื้อบ้าน เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
ปี 2563
มูลค่าสินเชื่อที่อยู่อาศัยปล่อยใหม่ 9,749,869 ล้านบาท
ปี 2564
มูลค่าสินเชื่อที่อยู่อาศัยปล่อยใหม่ 10,324,814 ล้านบาท
ปี 2565
มูลค่าสินเชื่อที่อยู่อาศัยปล่อยใหม่ 10,621,557 ล้านบาท
มูลค่าสินเชื่อที่อยู่อาศัยปล่อยใหม่ 9,749,869 ล้านบาท
ปี 2564
มูลค่าสินเชื่อที่อยู่อาศัยปล่อยใหม่ 10,324,814 ล้านบาท
ปี 2565
มูลค่าสินเชื่อที่อยู่อาศัยปล่อยใหม่ 10,621,557 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม เมื่อสถานการณ์ล็อกดาวน์เริ่มคลี่คลายลง แต่ละประเทศ เริ่มเปิดเมือง ผู้คนกลับมาใช้ชีวิตปกติ
บวกกับ สถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างยูเครนและรัสเซียปะทุขึ้น จนทำให้ราคาน้ำมัน และสินค้าเกษตรพุ่งสูงขึ้น ส่งผลให้เงินเฟ้อทั่วโลกก็เริ่มกลับมาสูงขึ้น
เมื่อเป็นแบบนี้ เป้าหมายของธนาคารแห่งประเทศไทยจึงต้องเปลี่ยน
จากการลดดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ กลายเป็นขึ้นดอกเบี้ย อย่างรวดเร็วและรุนแรง เพื่อคุมเงินเฟ้อ
จากการลดดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ กลายเป็นขึ้นดอกเบี้ย อย่างรวดเร็วและรุนแรง เพื่อคุมเงินเฟ้อ
ตรงนี้เอง ถ้าหากใครที่กู้ซื้อบ้าน ตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นล็อกดาวน์ ก็คงจะต้องปวดหัว
เพราะเมื่อปี 2563 ดอกเบี้ย MRR จะอยู่แค่ประมาณ 6%
แต่พอมาปี 2566 นี้ ดอกเบี้ย MRR ได้กลายเป็น 7.4%
แต่พอมาปี 2566 นี้ ดอกเบี้ย MRR ได้กลายเป็น 7.4%
ถ้าตัวเลขอื่นเหมือนเดิม แต่ดอกเบี้ยสูงขึ้น 1.4%
นั่นแปลว่า ถ้าเรากู้ซื้อบ้านราคา 5 ล้านบาท
เราจะต้องจ่ายดอกเบี้ยแพงขึ้น คิดเป็นตัวเลขกลม ๆ ก็เท่ากับ 70,000 บาทต่อปี หรือราว 5,800 บาทต่อเดือน
นั่นแปลว่า ถ้าเรากู้ซื้อบ้านราคา 5 ล้านบาท
เราจะต้องจ่ายดอกเบี้ยแพงขึ้น คิดเป็นตัวเลขกลม ๆ ก็เท่ากับ 70,000 บาทต่อปี หรือราว 5,800 บาทต่อเดือน
จึงเป็นที่มาว่า มีบางคนที่ก็ยังผ่อนบ้านด้วยจำนวนเงินต่อเดือนเท่าเดิม แต่เงินถูกนำไปตัดเงินต้นน้อยลง หรือแทบไม่ตัดเลย
เหตุผลก็เพราะ แม้ว่าเราจะจ่ายเงินเท่าเดิมก็จริง แต่ถ้าส่วนของดอกเบี้ยต่อเดือนเพิ่มขึ้น ก็จะไม่เหลือพอให้ไปตัดเงินต้น นั่นเอง..
และแม้ว่าการรีไฟแนนซ์ อาจจะช่วยให้เราได้ดอกเบี้ยที่ถูกลงมาบ้าง แต่ก็ตั้งต้นจาก MRR อยู่ดี
ถึงตรงนี้ เราก็คงพอทราบแล้วว่า ทำไมในปี 2566 นี้ ถึงเป็นปีที่มีประเด็น เกี่ยวกับดอกเบี้ยกู้ซื้อบ้านเยอะมาก ๆ
เพราะในช่วงล็อกดาวน์ที่ผ่านมา มีคนบางกลุ่มพากันกู้ซื้อบ้าน ด้วยอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำ และอาจเป็นการซื้อบ้านแบบไม่ต้องดาวน์
อย่างไรก็ตาม ไม่มีใครคิดว่า อัตราดอกเบี้ยนโยบาย จะถูกปรับขึ้นอย่างรุนแรง จาก 0.5% ในวันนั้น มาเป็น 2.5% ในวันนี้ ในระยะเวลาเพียงแค่ 3 ปีเท่านั้น
เรื่องนี้จึงเป็นเหมือนกรณีศึกษา ในเรื่องของความเสี่ยงทางด้านดอกเบี้ย ซึ่งคนที่กำลังจะกู้ซื้อบ้านควรจะศึกษาไว้
เพราะไม่มีใครรู้ได้เลยว่า อัตราดอกเบี้ยที่เราเห็นในวันนี้ อีก 3-4 ปีข้างหน้า จะมีเหตุการณ์อะไร มาทำให้มันเปลี่ยนแปลงไปได้อีก มากแค่ไหน..