เงินหมดก่อนตาย ความเสี่ยงยามเกษียณ ที่หลายคนมองข้าม | MONEY LAB
เมื่อพูดถึงการวางแผนเกษียณ คำถามแรก ๆ ที่เรามักจะถามตัวเองก็คือ เราต้องเก็บเงินเท่าไรถึงจะเพียงพอ

เงินหมดก่อนตาย ความเสี่ยงยามเกษียณ ที่หลายคนมองข้าม
11 ก.ย. 2023
ตามมาด้วย ผลตอบแทนจากการลงทุน เพื่อให้เงินเติบโตพอสำหรับเกษียณ ต้องมากแค่ไหน และค่าใช้จ่ายที่เราต้องใช้หลังเกษียณ มีอะไรบ้าง
แต่อันที่จริงแล้ว ยังมีอีกคำถามหนึ่งที่สำคัญ แต่เรามักจะมองข้าม หรือไม่อยากจะคิดถึงมัน นั่นก็คือ
“ถ้าเกษียณแล้ว เราจะอยู่ได้อีกกี่ปี”
“ถ้าเกษียณแล้ว เราจะอยู่ได้อีกกี่ปี”
แล้วทำไมเรื่องอายุ ถึงเป็นหนึ่งในสิ่งที่สำคัญ สำหรับการวางแผนเกษียณ ?
MONEY LAB จะเล่าเรื่องการเงิน ที่โรงเรียนไม่เคยสอนให้เข้าใจ
MONEY LAB จะเล่าเรื่องการเงิน ที่โรงเรียนไม่เคยสอนให้เข้าใจ
Longevity Risk หรือ ความเสี่ยงจากการมีอายุยืน เป็นหนึ่งในความเสี่ยงที่สำคัญ ซึ่งจะส่งผลกระทบอย่างมาก กับการวางแผนเกษียณของเรา
แม้การมีอายุยืนยาวจะเป็นเรื่องที่ดี เพราะเราจะได้ใช้เวลากับลูกหลานไปนาน ๆ
แต่การมีอายุที่ยืนยาว ก็หมายความว่า เราก็ต้องมีเงิน ให้พอเลี้ยงชีวิตได้นานขึ้นเช่นกัน จนทำให้อายุที่ยืนยาว อาจจะกลายเป็นทุกขลาภแทนได้ หากเราเก็บเงินเตรียมเกษียณได้ไม่เพียงพอ แถมยังไม่มีลูกหลานคอยดูแล
อีกทั้งในปัจจุบันนี้ เทคโนโลยีทางการแพทย์ ก็มีความก้าวหน้า ทำให้คนเรามีอายุยืนขึ้นเรื่อย ๆ เห็นได้จากเมื่อ 30 ปีก่อน คนไทยอายุคาดการณ์เฉลี่ยอยู่ที่ 71.22 ปี แต่ในปัจจุบัน เพิ่มขึ้นมาเป็นถึง 77.74 ปี
หรือก็คือ ถ้าเราจะเกษียณเมื่ออายุได้ 60 ปี เราจะต้องมีเงินเพียงพอสำหรับใช้หลังเกษียณ อย่างน้อย 18 ปีขึ้นไป
ซึ่งแน่นอนว่าในช่วงระยะเวลา 18 ปี ที่เราใช้ชีวิตหลังเกษียณนี้ ก็จะมีความเสี่ยงต่าง ๆ มากมาย ที่จะเข้ามากระทบกับ แผนเกษียณของเรา เช่น
-สภาพร่างกาย ที่เสื่อมโทรมลงเรื่อย ๆ ทำให้มีค่าใช้จ่ายทางด้านสุขภาพเพิ่มขึ้น
-เงินเฟ้อที่ค่อย ๆ เพิ่มขึ้นทุกปี จนทำให้เราต้องถอนเงินมาใช้จ่ายเพิ่ม
-ตลาดหุ้นเข้าสู่ช่วงขาลง จนทำให้เงินเก็บยามเกษียณลดลง
แล้วเราจะลดความเสี่ยง จากการมีอายุที่ยืนยาว ได้อย่างไร ?
1.ทำประกันเพื่อป้องกันความเสี่ยง
อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่า สภาพร่างกายของเรา มีแต่จะเสื่อมลงทุกวัน โดยเฉพาะหลังเกษียณ ที่ร่างกายจะยิ่งเสื่อมลงเร็วมาก ๆ
เพราะฉะนั้น การทำประกันสุขภาพ จะช่วยลดค่าใช้จ่ายทางด้านสุขภาพ ที่เกิดขึ้นระหว่างทางได้ และไม่ทำให้เงินเก็บยามเกษียณ หมดเร็วเกินไปนั่นเอง
นอกจากนี้ เรายังสามารถทำประกันบำนาญ ที่จะทำให้เรามีเงินใช้ทุกเดือน ๆ เพื่อกระจายความเสี่ยง ในการพึ่งพาเงินเก็บยามเกษียณเพียงอย่างเดียว ก็ได้เช่นกัน
2.กำหนดจำนวนเงินที่ถอนมาใช้ให้ชัดเจน
สำหรับจำนวนเงินที่จะถอนออกมาใช้ โดยไม่ทำให้เงินเกษียณหมดก่อนนั้น ส่วนใหญ่จะแนะนำให้ถอนเงินไม่เกิน 4% ของเงินเก็บยามเกษียณในปีแรก ส่วนในปีต่อ ๆ ไป ให้ถอนเพิ่มตามเงินเฟ้อเฉลี่ย
ถึงอย่างนั้น ถ้าเราต้องการถอนเงิน มากกว่าหรือน้อยกว่า 4% ก็ได้เช่นกัน แต่ถ้าเราเพิ่มจำนวนเงินที่ถอน ก็ต้องแลกมากับการเก็บเงินก่อนเกษียณให้เยอะขึ้น หรือลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงมากขึ้น เพื่อให้ได้ผลตอบแทนสูง ๆ
3.นำเงินเก็บไปลงทุนเพื่อป้องกันเงินเฟ้อ
อย่างที่เราเห็นว่าข้าวกะเพรา หรือก๋วยเตี๋ยว ที่เรากินเมื่อ 10 ปีก่อน ทุกวันนี้ก็ไม่ได้ขายราคาเดิมแล้ว ซึ่งราคาอาหารเหล่านี้ ก็จะเพิ่มขึ้นอีก หลังจากที่เราเกษียณได้ 10 ปี เช่นเดียวกัน
เพราะฉะนั้น การเก็บเงินในบัญชีธนาคารเพียงอย่างเดียว เพื่อรอเอาเงินมาใช้ตอนเกษียณ ก็อาจไม่ใช่ความคิดที่ดีนัก
การนำเงินเก็บยามเกษียณไปลงทุน ในสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนมากกว่าเงินเฟ้อ เช่น หุ้นกู้คุณภาพดี หรือหุ้นปันผลของบริษัทที่มั่นคง จึงเป็นอีกเรื่องที่สำคัญ
จากตรงนี้เองจะเห็นได้ว่า การมีอายุยืนยาว ก็มีข้อเสียอีกอย่างหนึ่ง คือการทำให้ความเสี่ยงต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อการเกษียณของเรา มีโอกาสเกิดมากขึ้น
เพราะฉะนั้น การวางแผนเกษียณที่ดี เพื่อจัดการความเสี่ยงเหล่านี้ จึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างมาก
เพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์อันแสนสลด ที่เงินเราหมด แต่ยังไม่ตาย นั่นเอง..
References
-https://www.tfpa.or.th/9e6417ebffecef071/resources4_3_1_11.html
-https://www.macrotrends.net/countries/THA/thailand/life-expectancy
-https://www.bridges.com.au/pdf_flyers/ed_flyers/retirement/managing_longevity_risk
-https://www.set.or.th/th/education-research/education/happymoney/knowledge/article/46-retirement-planning-with-annuity
-https://www.forbes.com/advisor/retirement/four-percent-rule-retirement/?fbclid=IwAR1pjStgalNPpZqvCNQshaKFt0LCG7YIgtiH8PHQQJYJonWmp5sF_zAZwkw
-https://www.tfpa.or.th/9e6417ebffecef071/resources4_3_1_11.html
-https://www.macrotrends.net/countries/THA/thailand/life-expectancy
-https://www.bridges.com.au/pdf_flyers/ed_flyers/retirement/managing_longevity_risk
-https://www.set.or.th/th/education-research/education/happymoney/knowledge/article/46-retirement-planning-with-annuity
-https://www.forbes.com/advisor/retirement/four-percent-rule-retirement/?fbclid=IwAR1pjStgalNPpZqvCNQshaKFt0LCG7YIgtiH8PHQQJYJonWmp5sF_zAZwkw