ทำไม บล.เอเชีย เวลท์ ถูกสั่งปิด เพราะหุ้น MORE ?<br>สรุปรายการ Billion Insight

ทำไม บล.เอเชีย เวลท์ ถูกสั่งปิด เพราะหุ้น MORE ?<br>สรุปรายการ Billion Insight

18 พ.ย. 2022
ทำไม บล.เอเชีย เวลท์ ถูกสั่งปิด เพราะหุ้น MORE ?
สรุปรายการ Billion Insight
Q: เมื่อก่อนเคยได้ยินแต่ข่าวเรื่อง Marketing ทำผิดกฎ แต่รอบนี้กลายเป็นโบรกเกอร์ทำผิดกฎเสียเอง ทำไมถึงเกิดสถานการณ์แบบนี้ขึ้นได้ ?
A: ในกรณีที่โบรกเกอร์เป็นหนี้ แล้วนำเงินของลูกค้ามาใช้ ถือว่าเป็นเรื่องที่ผิดอย่างร้ายแรงมาก ๆ
โดยทรัพย์สินของโบรกเกอร์แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ
-ทรัพย์สินที่มาจากรายได้ของโบรกเกอร์เอง
-เงินลงทุนที่เป็นของลูกค้า
สมมติฐานข้อที่ 1 คือ
การที่โบรกเกอร์นำเงินของลูกค้ามาใช้หนี้ หมายความว่า
โบรกเกอร์มีหนี้สินมากกว่าสินทรัพย์ที่ตัวเองมีอยู่
จึงมีการยักยอกนำเงินของลูกค้ามาใช้
สมมติฐานข้อที่ 2 คือ
โบรกเกอร์อยากรักษาระดับเงินทุนสำรองของตัวเองไว้
เลยนำเงินของลูกค้ามาใช้
เพราะถ้าระดับเงินทุนสำรองต่ำกว่าที่กำหนด ก.ล.ต. จะเข้ามาตรวจสอบ
Q: แบบนี้ก็แสดงว่า เกณฑ์ระดับเงินทุนสำรองของโบรกเกอร์ตรงนี้ มีไม่มากพอ แล้วควรจะปรับเพิ่มมากกว่านี้หรือไม่ เพราะจริง ๆ แล้ว มูลค่าความเสียหายของหุ้น MORE ไม่ได้เยอะ เมื่อเทียบกับตลาดโดยรวม ?
A: ใช่ บางโบรกเกอร์ก็อาจจะประมาท หวังว่าลูกค้าจะซื้อขายภายในวันเดียว ซึ่งจะเป็นการชำระบัญชีภายในวันเดียว ทำให้โบรกเกอร์เหมือนได้จับเสือมือเปล่า และกินค่าธรรมเนียมไปแบบฟรี ๆ
Q: เงินของลูกค้าควรถูกเก็บไว้ที่คนกลาง ที่เป็น Custodians ทำไมโบรกเกอร์ถึงสามารถนำเงินของลูกค้าไปชำระหนี้ได้ ?
A: ภายใต้ระบบของโบรกเกอร์ โบรกเกอร์เป็นผู้เก็บเงินให้ลูกค้า ไม่ใช่คนกลาง
ซึ่งจะแตกต่างจาก บลจ. ที่ธนาคารเป็นผู้ดูแลเงิน
Q: แล้วแบบนี้จะมีผลกระทบบานปลายไปอย่างไรบ้าง ?
A: ตลาดทุนบ้านเรามีระบบที่ค่อนข้างดี เพราะถึงแม้โบรกเกอร์จะล้มไป
แต่ตลาดหลักทรัพย์ก็มีเงินกองกลาง คอยช่วยเหลือนักลงทุนอยู่แล้ว
และถึงแม้เงินกองกลางของตลาดหลักทรัพย์ไม่พอ กระทรวงการคลังก็จะเข้ามาช่วยเหลือ
ดังนั้นจึงมองว่า จะไม่เกิดเหตุการณ์ที่โบรกเกอร์จะล้มเป็นโดมิโน
เพราะไม่ได้มีการกู้ยืมระหว่างโบรกเกอร์ด้วยกัน
แต่สิ่งที่น่าจะเกิดขึ้นก็คือ ลูกค้าอาจแห่กันไปถอนเงินออกจากโบรกเกอร์รายเล็ก ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับหุ้น MORE
ปิดท้ายด้วยข่าวจาก ก.ล.ต. เมื่อเช้านี้
ล่าสุด ทางตลาดหลักทรัพย์ออกแถลงการณ์แนะนำนักลงทุน ที่มีบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์กับ บล.เอเชีย เวลท์ สามารถโอนหุ้นไปยังบัญชีโบรกเกอร์อื่นได้
หรือหากไม่มีบัญชีในโบรกเกอร์อื่น ๆ ก็สามารถโอนเข้าบัญชี Issuer Account (600)
ซึ่งเป็นบัญชีของศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ได้ (TSD)
แต่จะยังไม่สามารถทำธุรกรรมซื้อขายได้
จนกว่าจะเปิดบัญชีกับโบรกเกอร์อื่นสำเร็จ
© 2025 MONEY LAB. All rights reserved. Privacy Policy.