
หุ้น MORE ใช้ช่องโหว่ หลักทรัพย์ไทย เสียหายเป็น 1,000 ล้าน สรุปรายการ Billion Insight
14 พ.ย. 2022
หุ้น MORE ใช้ช่องโหว่ หลักทรัพย์ไทย เสียหายเป็น 1,000 ล้าน สรุปรายการ Billion Insight
Q: เกิดอะไรขึ้นกับหุ้น MORE ?
A: คาดว่าผู้ซื้อที่เป็นข่าว มีการกู้ยืมเงินประมาณ 2,800-3,000 ล้านบาท จากโบรกเกอร์ประมาณ 10 ราย
โดยใช้หุ้น MORE ที่มีอยู่แล้วเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน และคาดว่าน่าจะมีการใช้เงินตัวเอง 40% กู้โบรกเกอร์มาอีก 60% ใช้เงินตัวเองประมาณ 1,600 ล้านบาท
Q: บางข่าวบอกว่ามีการใช้ Leverage 2 เท่า เป็นไปได้หรือไม่ ?
A: เป็นไปได้ ถ้ารู้จักกับผู้บริหารในระดับสูงของบริษัทหลักทรัพย์ เพราะรายได้หลักของโบรกเกอร์ก็มาจากค่านายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ ซึ่งแบ่งเป็น ค่าธรรมเนียมจากการซื้อขาย และดอกเบี้ยจากการปล่อยกู้มาร์จิน ถ้าเป็นโบรกเกอร์ที่ไม่ได้ใหญ่มาก ก็ต้องกดค่าธรรมเนียมให้ต่ำ แล้วไปหารายได้จากดอกเบี้ยมาร์จินแทน
สาเหตุของเรื่องนี้ ก็น่าจะเกิดมาจากความประมาทของโบรกเกอร์บางรายที่ปล่อยมาร์จินโดยไม่ระมัดระวัง
โดยช่องโหว่หลัก ๆ คือ เรื่องความประมาทในการปล่อยมาร์จิน ซึ่งจะตามมาด้วยความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้
โดยช่องโหว่หลัก ๆ คือ เรื่องความประมาทในการปล่อยมาร์จิน ซึ่งจะตามมาด้วยความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้
วิธีการป้องกันความเสี่ยง คือ การเอาหุ้นมาเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน
นอกจากนี้ประเทศไทยยังมีกฎระเบียบให้โบรกเกอร์ต้องมีกองทุนรักษาสภาพคล่อง ในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ผิดนัดชำระหนี้ด้วย
นอกจากนี้ประเทศไทยยังมีกฎระเบียบให้โบรกเกอร์ต้องมีกองทุนรักษาสภาพคล่อง ในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ผิดนัดชำระหนี้ด้วย
Q: มองว่าต้องมีการปรับกฎเกณฑ์ในการปล่อยมาร์จินหรือไม่ ?
A: มองว่ากฎเกณฑ์ที่เป็นอยู่มันดีอยู่แล้ว แต่ทางโบรกเกอร์เองต้องรอบคอบในการปล่อยมาร์จินมากกว่านี้
Q: สรุปตัวเลขความเสียหายประมาณเท่าไร ?
A: เมื่อวันพฤหัสบดี คาดว่าผู้ซื้อโดนบังคับขายหุ้นที่เป็นหลักประกันการกู้ยืมประมาณ 500 ล้านหุ้น ได้เงินกลับมาประมาณพันล้านบาท
และคาดว่าผู้ซื้อโดนบังคับขายหุ้นที่เป็นหลักประกันการกู้ยืมอีกประมาณ 97 ล้านหุ้น ในวันศุกร์ แต่ได้เงินกลับมาแค่ไม่กี่ร้อยล้านบาท
สรุปแล้วจะเหลือมูลหนี้หลังโดน Force Sell ไปแล้วประมาณ 1,500 ล้านบาท
ผู้ที่มีความเสี่ยงมากที่สุดก็น่าจะเป็น โบรกเกอร์ที่ไม่ได้อยู่ภายใต้การบริหารของธนาคารที่มีความเสี่ยงจะล้มได้
แต่ถ้าโบรกเกอร์มีปัญหา ก็จะใช้กองทุนสำรองสภาพคล่องที่โบรกเกอร์ต้องมี เพื่อให้ดำเนินธุรกิจต่อไปได้อยู่แล้ว
หรือหากเงินในกองทุนไม่พอ หน่วยงานกำกับดูแลก็จะรับหน้าที่เข้ามาดูแลต่ออีกทางหนึ่งอยู่ดี ตรงนี้นักลงทุนก็น่าจะสบายใจได้
แต่สภาพคล่องของโบรกเกอร์จะหายไปอย่างรวดเร็ว ในกรณีที่นักลงทุนแห่ถอนเงิน จากการสูญเสียความเชื่อมั่น ซึ่งถ้าขาดสภาพคล่องมาก ๆ โบรกเกอร์จะถูกสั่งให้หยุดดำเนินธุรกิจได้เหมือนกัน
Q: จะมีโอกาสเกิดเหตุการณ์แบบนี้ในอนาคตหรือไม่ ?
A: มีโอกาสเกิดได้ในรูปแบบอื่น แต่นับจากนี้โบรกเกอร์น่าจะมีความระมัดระวังในการปล่อยมาร์จินมากขึ้น ซึ่งอาจส่งผลให้สภาพคล่องอย่างน้อยครึ่งหนึ่งในหุ้นขนาดเล็กหายไป ซึ่งก็ทำให้หุ้นขนาดเล็กมีปริมาณการซื้อขายที่น้อยลงมากในอนาคต
Q: ที่ตลาดลงมาวันนี้ เป็นเพราะหุ้น MORE หรือไม่ ?
A: มองว่าเป็นแรงขายเทียม เนื่องจากคนกลัวว่าจะเกิดความเสี่ยงในระบบขึ้นมา แต่ก็มองว่าเป็นโอกาสดีในการซื้อหุ้นพื้นฐานดี
Q: Worst Case ที่จะแย่ที่สุดคืออะไร ?
A: หุ้นขนาดเล็กมีปริมาณการซื้อขายที่น้อยลงมากในอนาคต
มองว่าคนขายก็ต้องได้รับเงินอยู่ดี แล้วอาจจะค่อยไปพิสูจน์กันทีหลัง ว่ามีเจตนาฉ้อโกงหรือไม่
แต่ถ้ามีคดีความเกิดขึ้น โบรกเกอร์ก็ต้องตั้งสำรองความเสียหายไว้
แต่ถ้ามีคดีความเกิดขึ้น โบรกเกอร์ก็ต้องตั้งสำรองความเสียหายไว้
สุดท้ายบทเรียนที่นักลงทุนต้องรู้ไว้เสมอก็คือ ต่อให้หุ้นจะมี Story ที่ดีแค่ไหน ถ้าถึงวันที่ทุกอย่างมันหายไป นักลงทุนที่ไม่ระมัดระวังก็จะขาดทุนอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้การใช้มาร์จินก็ไม่ได้มีแต่โทษ ถ้ารู้จักใช้ให้เป็น มันก็มีประโยชน์
ส่วนนักลงทุนที่ยังชอบลงทุนในหุ้นขนาดเล็ก ก็ยังสามารถลงทุนต่อไปได้ ถ้าเป็นบริษัทที่มีการเติบโตของกำไรอย่างต่อเนื่อง เน้นไปที่คุณภาพของกิจการให้มากขึ้น รวมถึงดูประวัติธรรมาภิบาลของผู้บริหาร..