
“มูลค่าเงินตามเวลา” วิธีวางแผนการเงิน อย่างมีประสิทธิภาพ
19 ต.ค. 2022
Time Value of Money หรือก็คือ “มูลค่าเงินตามเวลา” เป็นแนวคิดที่บอกเราว่า เงินจำนวนเท่ากัน ณ ช่วงเวลาที่แตกต่างกัน จะมีมูลค่าไม่เท่ากัน
โดยถ้าเรามีเงินจำนวนเท่ากัน เช่น 100,000 บาท ในปี 2565 และ 100,000 บาท ในปี 2567
เงินจำนวน 100,000 บาท ในปี 2565 จะมีมูลค่ามากกว่าในปี 2567
สาเหตุก็เพราะ ระหว่างปี 2565-2567 จะมี เงินเฟ้อ มากัดกินมูลค่าที่แท้จริงของเงิน 100,000 บาท
สาเหตุก็เพราะ ระหว่างปี 2565-2567 จะมี เงินเฟ้อ มากัดกินมูลค่าที่แท้จริงของเงิน 100,000 บาท
แล้วทำไมแนวคิด มูลค่าเงินตามเวลา ถึงจะช่วยเราในการวางแผนการเงินได้ล่ะ
วันนี้ BillionMoney จะมาสรุปให้เข้าใจแบบง่าย ๆ
วันนี้ BillionMoney จะมาสรุปให้เข้าใจแบบง่าย ๆ
ส่วนประกอบหลักของ มูลค่าเงินตามเวลา จะประกอบไปด้วย
-มูลค่าเงินในปัจจุบัน (Present Value)
-มูลค่าเงินในอนาคต (Future Value)
-ระยะเวลา (Time)
-อัตราคิดลด (Discount Rate)
-มูลค่าเงินในอนาคต (Future Value)
-ระยะเวลา (Time)
-อัตราคิดลด (Discount Rate)
โดย อัตราคิดลด จะครอบคลุมถึง อัตราเงินเฟ้อ, อัตราดอกเบี้ย และผลตอบแทนที่เราต้องการด้วย
ขึ้นอยู่กับว่า เรากำลังคำนวณหามูลค่าในอนาคตของสิ่งใด
ขึ้นอยู่กับว่า เรากำลังคำนวณหามูลค่าในอนาคตของสิ่งใด
ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเรามีเงินเก็บส่วนตัวทั้งหมด 1,000,000 บาท ซึ่งก็คือ มูลค่าเงินในปัจจุบัน
และนำเงินก้อนนั้น ไปลงทุนในสินทรัพย์ ที่ให้ผลตอบแทนแตกต่างกัน
และนำเงินก้อนนั้น ไปลงทุนในสินทรัพย์ ที่ให้ผลตอบแทนแตกต่างกัน
ในระยะเวลา 10 ปี ผลตอบแทนรวมเงินต้นที่ได้ หรือก็คือ มูลค่าเงินในอนาคต ก็จะแตกต่างกัน เช่น
-ลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล ที่ให้ผลตอบแทนเฉลี่ย 3% ต่อปี
เราจะได้รับผลตอบแทนรวมเงินต้น เท่ากับ 1,343,916 บาท
เราจะได้รับผลตอบแทนรวมเงินต้น เท่ากับ 1,343,916 บาท
-ลงทุนในทองคำ ที่ให้ผลตอบแทนเฉลี่ย 3.61% ต่อปี
เราจะได้รับผลตอบแทนรวมเงินต้น เท่ากับ 1,425,662 บาท
เราจะได้รับผลตอบแทนรวมเงินต้น เท่ากับ 1,425,662 บาท
-ลงทุนในกองทุนดัชนีหุ้น ที่ให้ผลตอบแทนเฉลี่ย 8% ต่อปี
เราจะได้รับผลตอบแทนรวมเงินต้น เท่ากับ 2,158,925 บาท
เราจะได้รับผลตอบแทนรวมเงินต้น เท่ากับ 2,158,925 บาท
ซึ่งแนวคิด มูลค่าเงินตามเวลานี้ จะช่วยในการเปรียบเทียบมูลค่าของเงินที่เราจะได้รับ
จากการลงทุนในสินทรัพย์ ที่แตกต่างกัน ซึ่งเป็นประโยชน์มาก ในการวางแผนการลงทุน
จากการลงทุนในสินทรัพย์ ที่แตกต่างกัน ซึ่งเป็นประโยชน์มาก ในการวางแผนการลงทุน
นอกจากนี้ แนวคิดนี้ก็ยังสามารถช่วยเรา ในการวางแผนออมเงิน เพื่อลงทุนในแต่ละเดือนได้อีกด้วย
โดยใช้วิธีการคำนวณแบบคิดย้อนกลับ
โดยใช้วิธีการคำนวณแบบคิดย้อนกลับ
ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเราวางแผนเกษียณ ตอนอายุ 60 ปี
โดยเราจะต้องมีเงิน 10,000,000 บาท จึงจะพอใช้หลังเกษียณ ไปจนกว่าเราจะเสียชีวิตได้
ดังนั้น เงินจำนวน 10,000,000 บาทนี้ คือเป้าหมายของเรา ที่เราจะต้องเก็บออมให้ถึง ก่อนที่เราจะเกษียณ
โดยเราจะต้องมีเงิน 10,000,000 บาท จึงจะพอใช้หลังเกษียณ ไปจนกว่าเราจะเสียชีวิตได้
ดังนั้น เงินจำนวน 10,000,000 บาทนี้ คือเป้าหมายของเรา ที่เราจะต้องเก็บออมให้ถึง ก่อนที่เราจะเกษียณ
ถ้าเรานำแนวคิด มูลค่าเงินลงทุนตามเวลามาใช้ เราก็จะสามารถรู้ได้ว่า
ด้วยอัตราผลตอบแทนเท่านี้ เราจะต้องเก็บออม เดือนละเท่าไร
และเป็นระยะเวลายาวนานแค่ไหน เราจึงจะเก็บเงินได้ครบ
ด้วยอัตราผลตอบแทนเท่านี้ เราจะต้องเก็บออม เดือนละเท่าไร
และเป็นระยะเวลายาวนานแค่ไหน เราจึงจะเก็บเงินได้ครบ
รู้ไหมว่า ถ้าเรานำเงินที่เก็บออมในแต่ละเดือนไปลงทุน ในสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนเฉลี่ยระยะยาว ที่ 8% ต่อปี
เพื่อให้เรามีเงินครบ 10,000,000 บาท ภายในอายุ 60 ปี
เราจะต้องออมเงินเดือนละเท่าไร ?
เพื่อให้เรามีเงินครบ 10,000,000 บาท ภายในอายุ 60 ปี
เราจะต้องออมเงินเดือนละเท่าไร ?
ถ้าเราเริ่มออมเงินตอนอายุ 30 ปี เราจะต้องออมเงิน เดือนละ 6,710 บาท
ถ้าเราเริ่มออมเงินตอนอายุ 40 ปี เราจะต้องออมเงินเพิ่มขึ้น เป็นเดือนละ 16,978 บาท
และถ้าเราเริ่มออมเงินตอนอายุ 50 ปี เราจะต้องออมเงินมากถึง เดือนละ 54,660 บาท
ถ้าเราเริ่มออมเงินตอนอายุ 40 ปี เราจะต้องออมเงินเพิ่มขึ้น เป็นเดือนละ 16,978 บาท
และถ้าเราเริ่มออมเงินตอนอายุ 50 ปี เราจะต้องออมเงินมากถึง เดือนละ 54,660 บาท
ตัวอย่างข้างต้น บ่งชี้ว่า ถ้าเราเริ่มเก็บออมเงิน ตั้งแต่อายุยังน้อย ทุกเดือน
เราก็ไม่จำเป็นต้องออมเงิน ในปริมาณที่มากเกินไป เมื่อแก่ตัวลง
เราก็ไม่จำเป็นต้องออมเงิน ในปริมาณที่มากเกินไป เมื่อแก่ตัวลง
แต่ถ้าเรามาเริ่มเก็บออมช้า หรือเก็บออมในตอนที่อายุเริ่มมากแล้ว
เราก็จะต้องออมเงิน ในปริมาณที่มากขึ้นด้วย
เราก็จะต้องออมเงิน ในปริมาณที่มากขึ้นด้วย
อ่านมาถึงตรงนี้ เราก็คงจะเห็นแล้วว่า
แนวคิด มูลค่าเงินตามเวลา จะช่วยให้เราวางแผนการเงินได้อย่างไร
แนวคิด มูลค่าเงินตามเวลา จะช่วยให้เราวางแผนการเงินได้อย่างไร
มูลค่าของเงิน สามารถเปลี่ยนแปลงไปได้ ตามกาลเวลา
ถ้าเราปล่อยเงินของเราทิ้งไว้เฉย ๆ อำนาจในการซื้อของเงิน ก็จะลดลงจากเงินเฟ้อ
ดังนั้น จึงอาจยืนยันสุภาษิตที่ได้ยินกันมาตั้งแต่เด็ก ๆ ว่า
“เวลาเป็นเงินเป็นทอง” นั้น มันเป็นเรื่องจริง..
ถ้าเราปล่อยเงินของเราทิ้งไว้เฉย ๆ อำนาจในการซื้อของเงิน ก็จะลดลงจากเงินเฟ้อ
ดังนั้น จึงอาจยืนยันสุภาษิตที่ได้ยินกันมาตั้งแต่เด็ก ๆ ว่า
“เวลาเป็นเงินเป็นทอง” นั้น มันเป็นเรื่องจริง..
References
-https://www.moneybuffalo.in.th/vocabulary/time-value-of-money-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3
-https://advicecenter.kkpfg.com/th/money-lifestyle/money/financial-investment/time-value-of-money
-https://classic.set.or.th/set/financialplanning/glossary.do?contentId=21
-https://www.moneybuffalo.in.th/vocabulary/time-value-of-money-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3
-https://advicecenter.kkpfg.com/th/money-lifestyle/money/financial-investment/time-value-of-money
-https://classic.set.or.th/set/financialplanning/glossary.do?contentId=21