
ทำไม GDP อาจไม่ใช่ตัวชี้วัดความเป็นอยู่ที่ดี ของคนในชาติเสมอไป
19 ก.ย. 2022
หนึ่งในคำที่เราได้ยินมากที่สุด จากข่าวเศรษฐกิจก็คงหนีไม่พ้น “GDP”
ซึ่งเป็นตัวที่บ่งบอกสภาพเศรษฐกิจว่าเป็นอย่างไร
ซึ่งเป็นตัวที่บ่งบอกสภาพเศรษฐกิจว่าเป็นอย่างไร
ถ้าอัตราการเติบโตของ GDP เพิ่มขึ้น หมายความว่า เศรษฐกิจของประเทศเติบโต
ทำให้หลายประเทศผลักดันการเติบโตของ GDP ให้เป็นวาระแห่งชาติ
ทำให้หลายประเทศผลักดันการเติบโตของ GDP ให้เป็นวาระแห่งชาติ
อย่างไรก็ตาม GDP อาจไม่ใช่ตัวชี้วัดความเป็นอยู่ที่ดีของคนในชาติเสมอไป
โดยเฉพาะสิ่งที่ไม่สามารถตีมูลค่าออกมาเป็นตัวเงินได้
ทำไมถึงเป็นแบบนั้น BillionMoney จะมาอธิบายในฉบับเข้าใจง่าย ๆ
โดยเฉพาะสิ่งที่ไม่สามารถตีมูลค่าออกมาเป็นตัวเงินได้
ทำไมถึงเป็นแบบนั้น BillionMoney จะมาอธิบายในฉบับเข้าใจง่าย ๆ
Gross Domestic Product (GDP) หรือ ผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ คือมูลค่าตลาดของสินค้าและบริการขั้นสุดท้าย ที่ผลิตในประเทศในช่วงเวลาหนึ่ง ซึ่งไม่คำนึงว่าผลผลิตจะได้มาจากทรัพยากรภายในหรือภายนอกประเทศ
หรือพูดได้ว่า การวัด GDP ก็คือการนับรวมรายได้ที่เกิดขึ้นภายในประเทศ
รวมถึงคนต่างชาติที่มาอาศัยในประเทศ หากสามารถสร้างรายได้ได้ ก็ถูกนับรวมอยู่ใน GDP ด้วย
รวมถึงคนต่างชาติที่มาอาศัยในประเทศ หากสามารถสร้างรายได้ได้ ก็ถูกนับรวมอยู่ใน GDP ด้วย
โดยการเปลี่ยนแปลงของ GDP มาจากหลายปัจจัย เช่น การจับจ่ายใช้สอยของคนในประเทศ การจ้างงาน การลงทุนของภาครัฐผ่านการลงทุนโครงการต่าง ๆ รวมถึงนักท่องเที่ยวต่างชาติที่มาใช้จ่ายในประเทศ การส่งออก และการนำเข้า
ในทางเศรษฐศาสตร์นั้น สมการ GDP จะถูกแทนค่าด้วย C + I + G + (X – M)
-C คือ Consumption ซึ่งเป็นการบริโภคของภาคเอกชนและประชาชนทั่วไป เช่น การซื้อสินค้า การจ่ายค่าเดินทาง การออกไปดูหนัง หรือการจ่ายค่ารักษาพยาบาล
-I คือ Investment คือ มูลค่าการลงทุนจากภาคเอกชน ทั้งบริษัทและครัวเรือนในสินค้าทุน เช่น การซื้ออุปกรณ์เครื่องจักรโรงงาน การสร้างบ้าน หรืออสังหาริมทรัพย์
-G คือ Government Spending คือ ค่าใช้จ่ายทั้งหมดของรัฐบาล ที่ใช้ซื้อสินค้าและบริการขั้นสุดท้าย เช่น ค่าใช้จ่ายลงทุนของรัฐ การซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์
-X – M คือ Export – Import ซึ่งเป็นมูลค่าการส่งออกสินค้าและบริการ ลบมูลค่าการนำเข้าสินค้าและบริการ
การตีความ GDP ก็ไม่ซับซ้อนอะไร ถ้าตัวเลข GDP ที่ประกาศออกมาในแต่ละไตรมาสนั้น เพิ่มสูงขึ้น
ก็แปลว่า มีรายได้เกิดขึ้นในประเทศมากขึ้น ซึ่งหมายถึงประเทศกำลังมีการเติบโตของเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น
ก็แปลว่า มีรายได้เกิดขึ้นในประเทศมากขึ้น ซึ่งหมายถึงประเทศกำลังมีการเติบโตของเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น
แม้ GDP จะเป็นตัววัดการเติบโตทางเศรษฐกิจ ที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย
แต่ก็ยังมีจุดอ่อนบางอย่าง ที่หลายคนอาจยังมองข้ามไป
แต่ก็ยังมีจุดอ่อนบางอย่าง ที่หลายคนอาจยังมองข้ามไป
ลองนึกภาพดูว่า ถ้ามีโรงงานอุตสาหกรรมไปตั้งอยู่ในพื้นที่สักแห่งในประเทศ
แม้โรงงานนั้นจะมีการจ้างงาน มีการผลิตสินค้า และมีรายได้จากการขายสินค้า
แต่กระบวนการผลิตกลับสร้างมลภาวะทางอากาศ ส่งผลให้ผู้ที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้น มีปัญหาด้านสุขภาพ มีอายุขัยที่สั้นลง ซึ่งผลกระทบด้านลบนี้ กลับไม่ได้ถูกนำไปคำนวณใน GDP
แม้โรงงานนั้นจะมีการจ้างงาน มีการผลิตสินค้า และมีรายได้จากการขายสินค้า
แต่กระบวนการผลิตกลับสร้างมลภาวะทางอากาศ ส่งผลให้ผู้ที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้น มีปัญหาด้านสุขภาพ มีอายุขัยที่สั้นลง ซึ่งผลกระทบด้านลบนี้ กลับไม่ได้ถูกนำไปคำนวณใน GDP
หรือแม้แต่ปัญหาการจราจรในเมือง ที่มีความแออัด ส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตของผู้ใช้รถใช้ถนน ก็ไม่ได้ถูกนำไปคำนวณด้วยเช่นกัน
อีกประเด็นก็คือ อัตราการเติบโตของ GDP เป็นเครื่องมือวัด ที่มองข้ามความเหลื่อมล้ำในสังคม
ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเศรษฐกิจของประเทศเติบโตได้ดี มีความต้องการที่ดินเพิ่มมากขึ้น
ส่งผลให้ราคาที่ดินสูงขึ้น ซึ่งผู้ที่ได้รับผลประโยชน์ กลับเป็นคนส่วนน้อยของประเทศ ที่ครอบครองที่ดิน
ส่งผลให้ราคาที่ดินสูงขึ้น ซึ่งผู้ที่ได้รับผลประโยชน์ กลับเป็นคนส่วนน้อยของประเทศ ที่ครอบครองที่ดิน
แน่นอนว่า การที่ตัวเลข GDP เพิ่มขึ้น หมายถึง ภาวะเศรษฐกิจในภาพรวมนั้นเติบโตดีขึ้น
แต่หลายครั้งก็ต้องแลกกับคุณภาพชีวิตของประชาชนที่แย่ลง รวมไปถึงปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อม..
แต่หลายครั้งก็ต้องแลกกับคุณภาพชีวิตของประชาชนที่แย่ลง รวมไปถึงปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อม..
ปิดท้ายด้วยข้อมูลที่น่าสนใจ รู้หรือไม่ว่า การซื้อผลิตภัณฑ์ทางการเงิน เช่น การซื้อหุ้นสามัญหรือหุ้นกู้ ถูกมองเป็นเพียงการออม ไม่ถูกจัดเป็นรายการการลงทุนในสมการของ GDP..