
กระแสโลกขึ้นดอกเบี้ย กดดันให้ไทย ต้องขึ้นตามรอบหน้า 0.5%
11 ก.ค. 2022
กระแสโลกขึ้นดอกเบี้ย กดดันให้ไทย ต้องขึ้นตามรอบหน้า 0.5% - BillionMoney
บทวิเคราะห์จาก KKP Research ชี้ว่า ในการขึ้นดอกเบี้ยครั้งหน้า ธปท. อาจจะต้องปรับขึ้นดอกเบี้ยถึง 0.5% จากการที่ธนาคารกลางทั่วโลก กำลังขึ้นดอกเบี้ย
โดยในช่วงนี้ ธนาคารกลางหลายประเทศทั่วโลก กำลังขึ้นดอกเบี้ยอย่างรวดเร็ว หลังจากลงไปเกือบหรือเท่ากับ 0% เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงวิกฤติ COVID-19 เช่น สหรัฐอเมริกา ที่ทำการขึ้นดอกเบี้ยมาเป็น 1.75% และอาจแตะ 3.5% - 4% ในต้นปีหน้า หรือประเทศในเอเชีย อย่างเกาหลีใต้ ก็ทำการขึ้นดอกเบี้ยเป็น 0.75%
โดยธนาคารกลางหลายแห่ง ได้ทำการปรับขึ้นดอกเบี้ย ครั้งละ 0.5% - 0.75%
ซึ่งมากกว่าปกติ ที่มักจะปรับขึ้นเพียง 0.25% เท่านั้น เนื่องจากกังวลว่า ถ้าค่อย ๆ ขึ้น
อาจจะแก้ปัญหาเงินเฟ้อได้ไม่ทันการณ์
ซึ่งมากกว่าปกติ ที่มักจะปรับขึ้นเพียง 0.25% เท่านั้น เนื่องจากกังวลว่า ถ้าค่อย ๆ ขึ้น
อาจจะแก้ปัญหาเงินเฟ้อได้ไม่ทันการณ์
เมื่อหันกลับมามองที่ไทย ก็พบว่าอัตราดอกเบี้ยของประเทศไทย อยู่ในระดับที่ต่ำมาก
แม้ในตอนนี้ จะเผชิญกับเงินเฟ้อสูงถึง 7.7% ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงของไทย อยู่ในกลุ่มที่ต่ำมากที่สุดในโลก
แม้ในตอนนี้ จะเผชิญกับเงินเฟ้อสูงถึง 7.7% ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงของไทย อยู่ในกลุ่มที่ต่ำมากที่สุดในโลก
การที่ธนาคารกลางของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก พากันขึ้นดอกเบี้ยอย่างรวดเร็ว
ก็จะเป็นแรงกดดัน ให้ ธปท. ต้องทำการปรับขึ้นดอกเบี้ย หลังจากที่ยังไม่ได้ทำการ ปรับขึ้นดอกเบี้ยในปีนี้
ก็จะเป็นแรงกดดัน ให้ ธปท. ต้องทำการปรับขึ้นดอกเบี้ย หลังจากที่ยังไม่ได้ทำการ ปรับขึ้นดอกเบี้ยในปีนี้
เหตุผลที่ทาง ธปท. ใช้อธิบายว่า ทำไมจึงไม่จำเป็นต้อง ทำการขึ้นดอกเบี้ย ประกอบไปด้วย 3 เหตุผล คือ
1) เงินเฟ้อนั้นเกิดจากทางด้านต้นทุน ซึ่งเป็นเรื่องชั่วคราว และจะคลี่คลายลงไปเอง
2) การขึ้นอัตราดอกเบี้ย จะส่งผลต่อเศรษฐกิจ ที่กำลังฟื้นตัว และหนี้ครัวเรือน ที่อยู่ในระดับสูง
3) การขึ้นดอกเบี้ย ไม่ได้มีผลต่ออัตราแลกเปลี่ยนมากนัก เพราะการอ่อนค่าตอนนี้ สอดคล้องกับเงินสกุลอื่น ๆ ทั้งภูมิภาค และประเทศไทย ยังมีสเถียรภาพด้านต่างประเทศแข็งแกร่ง
2) การขึ้นอัตราดอกเบี้ย จะส่งผลต่อเศรษฐกิจ ที่กำลังฟื้นตัว และหนี้ครัวเรือน ที่อยู่ในระดับสูง
3) การขึ้นดอกเบี้ย ไม่ได้มีผลต่ออัตราแลกเปลี่ยนมากนัก เพราะการอ่อนค่าตอนนี้ สอดคล้องกับเงินสกุลอื่น ๆ ทั้งภูมิภาค และประเทศไทย ยังมีสเถียรภาพด้านต่างประเทศแข็งแกร่ง
แต่อย่างไรก็ตาม ทาง KKP Research ได้มองว่า กระแสนโยบายการเงินของโลกที่เปลี่ยนทาง
จะทำให้การตัดสินใจ เกี่ยวกับนโยบายการเงินของไทย ในครั้งหน้า ต้องให้น้ำหนักกับเงินเฟ้อ
และค่าเงินบาทมากขึ้น เพราะจะส่งผลต่อเศรษฐกิจเป็นวงกว้าง ใน 3 ประเด็น คือ
จะทำให้การตัดสินใจ เกี่ยวกับนโยบายการเงินของไทย ในครั้งหน้า ต้องให้น้ำหนักกับเงินเฟ้อ
และค่าเงินบาทมากขึ้น เพราะจะส่งผลต่อเศรษฐกิจเป็นวงกว้าง ใน 3 ประเด็น คือ
1) ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยที่กว้างขึ้น ระหว่างประเทศไทยกับประเทศอื่น ๆ จะทำให้เงินบาทอ่อนค่ามากกว่านี้ อย่างเช่น ประเทศญี่ปุ่น ที่ยังคงผ่อนคลายนโยบายการเงิน ก็ทำให้เงินเยน อ่อนค่ามากที่สุดในรอบ 24 ปี
2) การขาดดุลบัญชีเดินสะพัดจะใหญ่และยาวนานขึ้น โดยในเดือนเมษายนและพฤษภาคมที่ผ่านมา ประเทศไทยขาดดุลบัญชีเดินสะพัด ถึงเดือนละประมาณ 1-1.4 แสนล้านบาท ซึ่งกำลังจะทำให้ไทย ขาดดุลมากที่สุด นับตั้งแต่มีการบันทึกตัวเลขในปี 2005 แสดงให้เห็นถึงความแข็งแกร่ง ของเสถียรภาพต่างประเทศที่ลดลง
3) เกิดความเสี่ยงในความน่าเชื่อถือของธนาคารกลาง จากการคาดการณ์เงินเฟ้อของคน ที่เปลี่ยนไป ซึ่งจะทำให้การใช้นโยบายการเงิน ทำได้ยากยิ่งขึ้น และจะนำไปสู่การปรับขึ้นดอกเบี้ย อย่างรุนแรง ในภายหลัง
2) การขาดดุลบัญชีเดินสะพัดจะใหญ่และยาวนานขึ้น โดยในเดือนเมษายนและพฤษภาคมที่ผ่านมา ประเทศไทยขาดดุลบัญชีเดินสะพัด ถึงเดือนละประมาณ 1-1.4 แสนล้านบาท ซึ่งกำลังจะทำให้ไทย ขาดดุลมากที่สุด นับตั้งแต่มีการบันทึกตัวเลขในปี 2005 แสดงให้เห็นถึงความแข็งแกร่ง ของเสถียรภาพต่างประเทศที่ลดลง
3) เกิดความเสี่ยงในความน่าเชื่อถือของธนาคารกลาง จากการคาดการณ์เงินเฟ้อของคน ที่เปลี่ยนไป ซึ่งจะทำให้การใช้นโยบายการเงิน ทำได้ยากยิ่งขึ้น และจะนำไปสู่การปรับขึ้นดอกเบี้ย อย่างรุนแรง ในภายหลัง
ทาง KKP Research จึงคาดว่า ธปท. จะทำการขึ้นดอกเบี้ยเป็น 0.5% ในการประชุมรอบหน้า จากนั้นจะขึ้นอีก 2 ครั้ง ครั้งละ 0.25% และจบปีด้วยอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 1.5% จากปัจจุบันที่อยู่ที่ 0.5%
ดอกเบี้ยที่กำลังปรับขึ้นนี้เอง ก็จะส่งผลกระทบต่อ ภาระหนี้ของภาคครัวเรือน ที่จะปรับตัวสูงขึ้น
ตามการขึ้นอัตราดอกเบี้ย, ภาคเอกชน อาจเกิดการขาดสภาพคล่อง เนื่องจากการออกพันธบัตร
ภาคเอกชนใหม่ จะมีต้นทุนสูงขึ้น ซึ่งอาจนำไปสู่การผิดนัดชำระหนี้ และราคาสินทรัพย์เสี่ยง
มีโอกาสปรับตัวลดลง
ตามการขึ้นอัตราดอกเบี้ย, ภาคเอกชน อาจเกิดการขาดสภาพคล่อง เนื่องจากการออกพันธบัตร
ภาคเอกชนใหม่ จะมีต้นทุนสูงขึ้น ซึ่งอาจนำไปสู่การผิดนัดชำระหนี้ และราคาสินทรัพย์เสี่ยง
มีโอกาสปรับตัวลดลง
ทำให้ทาง ธปท. อาจต้องหามาตรการเยียวยา ให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบ โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบาง
และเศรษฐกิจที่จะชะลอตัวลง จากผลกระทบของการขึ้นดอกเบี้ยต่อไป
และเศรษฐกิจที่จะชะลอตัวลง จากผลกระทบของการขึ้นดอกเบี้ยต่อไป
—-------------------------
ที่มา : KKP Research โดยเกียรตินาคินภัทร
ที่มา : KKP Research โดยเกียรตินาคินภัทร