สุขภาพการเงินของเรา กำลังดีอยู่หรือไม่ ตรวจสอบได้ง่าย ๆ ด้วยตัวเอง | MONEY LAB
การตรวจสุขภาพทางการเงินนั้น เป็นสิ่งที่เราควรทำอยู่เสมอ เพราะก็มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่า การตรวจเช็กสุขภาพอยู่เป็นประจำเลย

สุขภาพการเงินของเรา กำลังดีอยู่หรือไม่ ตรวจสอบได้ง่าย ๆ ด้วยตัวเอง
27 ก.ค. 2023
ซึ่งในบทความนี้ จะแนะนำวิธีการตรวจเช็กสุขภาพการเงินของเรา ด้วยวิธีง่าย ๆ 3 ข้อ
แล้ว วิธีตรวจสอบสุขภาพการเงินดังกล่าว มีอะไรบ้าง ?
MONEY LAB จะเล่าเรื่องการเงิน ที่โรงเรียนไม่เคยสอนให้เข้าใจ
MONEY LAB จะเล่าเรื่องการเงิน ที่โรงเรียนไม่เคยสอนให้เข้าใจ
วิธีตรวจสอบสุขภาพการเงินของเรา มีอยู่ 3 ข้อ
1.อัตราส่วนเงินออมและเงินลงทุน
วิธีในการคำนวณ คือ
(เงินออมและเงินลงทุนรายเดือน x 100) / รายได้รวมทั้งเดือน
(เงินออมและเงินลงทุนรายเดือน x 100) / รายได้รวมทั้งเดือน
ตัวอย่างเช่น คุณ A มีรายได้รวม 36,000 บาทต่อเดือน
-ออมเป็นเงินสดสำรอง เดือนละ 2,000 บาท
-ลงทุนในกองทุน SSF เดือนละ 3,000 บาท
คุณ A จะมีอัตราส่วนเงินออมและเงินลงทุน อยู่ที่ 14%
ซึ่งเราควรมีอัตราส่วนเงินออมและเงินลงทุน ในแต่ละเดือน มากกว่า 10%
2.อัตราส่วนเงินชำระหนี้ต่อรายได้
วิธีในการคำนวณ คือ
(เงินชำระหนี้รายเดือน x 100) / รายได้รวมทั้งเดือน
(เงินชำระหนี้รายเดือน x 100) / รายได้รวมทั้งเดือน
ตัวอย่างเช่น คุณ A มีรายได้รวม 36,000 บาทต่อเดือน
-มีหนี้สินที่ต้องผ่อนชำระรวม เดือนละ 10,000 บาท
คุณ A จะมีอัตราส่วนเงินชำระหนี้ต่อรายได้ อยู่ที่ 28%
สำหรับอัตราส่วนเงินชำระหนี้ต่อรายได้นั้น เราจะต้องแบ่งการตรวจสอบ ออกเป็น 2 กรณี
-กรณีไม่มีหนี้บ้านและรถยนต์ อัตราส่วนเงินชำระหนี้ต่อรายได้ ต้องไม่เกิน 30%
-กรณีมีหนี้บ้านและรถยนต์ อัตราส่วนเงินชำระหนี้ต่อรายได้ ต้องไม่เกิน 50%
ถ้าเราพบว่า อัตราส่วนเงินชำระหนี้ต่อรายได้ของเรา ไม่เกินกว่าที่กำหนดไว้ หมายความว่า เรายังสามารถจัดการภาระหนี้สินที่มีอยู่ได้ ค่อนข้างดี
3.ความมั่งคั่งสุทธิ
วิธีในการคำนวณ คือ
ทรัพย์สินรวม - หนี้สินรวม
ทรัพย์สินรวม - หนี้สินรวม
ตัวอย่างเช่น คุณ B
-มีเงินลงทุนในกองทุนรวม และกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ รวม 2,000,000 บาท
-มีหนี้บัตรเครดิต รวม 100,000 บาท
ดังนั้น ความมั่งคั่งสุทธิของคุณ B จะเท่ากับ 1,900,000 บาท
ถ้าความมั่งคั่งสุทธิของเราเป็นบวก หมายความว่า เรามีทรัพย์สินมากกว่าหนี้สิน และสถานะทางการเงินของเรายังคงแข็งแกร่ง
แล้วเราควรตรวจเช็กสุขภาพการเงินของเราบ่อยแค่ไหน ?
เราควรจัดทำ อัตราส่วนเงินออมและเงินลงทุน และอัตราส่วนเงินชำระหนี้ต่อรายได้ ของเราเองทุกเดือน
เพื่อดูว่า สุขภาพทางการเงินในเดือนต่อเดือน เป็นอย่างไร
เพื่อดูว่า สุขภาพทางการเงินในเดือนต่อเดือน เป็นอย่างไร
ส่วนความมั่งคั่งสุทธิ ควรจัดทำปีละ 2 ครั้ง คือช่วงกลางปีและปลายปี เพื่อดูว่า เมื่อเวลาผ่านไป เราสร้างความมั่งคั่งเพิ่มขึ้นมาได้เท่าไร
สรุปแล้ว วิธีตรวจเช็กสุขภาพการเงินมีอยู่ 3 ข้อ คือ
-อัตราส่วนเงินออมและเงินลงทุน
-อัตราส่วนเงินชำระหนี้ต่อรายได้
-ความมั่งคั่งสุทธิ
ถ้าเราตรวจสอบสถานะทางการเงินของตัวเราเอง แล้วพบว่า
-เราสามารถออมเงินได้อย่างน้อย 10% ของรายได้รวม
-การผ่อนชำระหนี้ ไม่เกิน 30-50% ของรายได้รวม
-มีทรัพย์สินมากกว่าหนี้สิน
ก็เป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่า สุขภาพการเงินของเรา กำลังดีเป็นอย่างมาก..
References
-หนังสือ Money 101 : เริ่มต้นนับหนึ่งสู่ชีวิตการเงินอุดมสุข (2019) โดย จักรพงษ์ เมษพันธุ์
-หนังสือ Rich Dad Poor Dad: What the Rich Teach Their Kids About Money That the Poor and Middle Class Do Not! (2000) โดย Robert Kiyosaki และ Sharon L. Lechter
-หนังสือ The Richest Man in Babylon (1926) โดย George Samuel Clason
-หนังสือ I Will Teach You to Be Rich, Second Edition: No Guilt. No Excuses. No BS. Just a 6-Week Program That Works (2019) โดย Ramit Sethi
-หนังสือ Money 101 : เริ่มต้นนับหนึ่งสู่ชีวิตการเงินอุดมสุข (2019) โดย จักรพงษ์ เมษพันธุ์
-หนังสือ Rich Dad Poor Dad: What the Rich Teach Their Kids About Money That the Poor and Middle Class Do Not! (2000) โดย Robert Kiyosaki และ Sharon L. Lechter
-หนังสือ The Richest Man in Babylon (1926) โดย George Samuel Clason
-หนังสือ I Will Teach You to Be Rich, Second Edition: No Guilt. No Excuses. No BS. Just a 6-Week Program That Works (2019) โดย Ramit Sethi