ทำไม อินโดนีเซีย ถึงกลายเป็น ดินแดนแห่ง สตาร์ตอัป ของอาเซียน - BillionMoney
รู้หรือไม่ว่า ประเทศอินโดนีเซีย มีสตาร์ตอัปกว่า 2,517 ราย ทำให้อินโดนีเซีย กลายเป็นประเทศที่มีจำนวนสตาร์ตอัป มากที่สุดในอาเซียน และมากที่สุดเป็นอันดับ 6 ของโลก

ทำไม อินโดนีเซีย ถึงกลายเป็น ดินแดนแห่ง สตาร์ตอัป ของอาเซียน
3 พ.ค. 2023
ซึ่งสตาร์ตอัปเหล่านั้น ส่วนหนึ่งก็กลายเป็นยูนิคอร์น และได้ตบเท้าเข้ามาให้บริการในประเทศไทย จนเริ่มกลายเป็นที่รู้จักของผู้บริโภคชาวไทยอีกด้วย เช่น
-J&T Express บริการขนส่งพัสดุ
-Traveloka บริการจองตั๋วเครื่องบิน และโรงแรม
-Gojek บริการส่งอาหาร
และถ้าหากคุณสงสัย ว่าเพราะอะไร ประเทศอินโดนีเซีย ถึงกลายเป็นดินแดน ที่สามารถบ่มเพาะสตาร์ตอัป จำนวนมากมายแบบนี้ ?
BillionMoney จะย่อยให้เข้าใจ
จากข้อมูลของศูนย์ข้อมูล และการวิจัยสตาร์ตอัป อย่าง StartupBlink ได้แสดงให้เห็นว่า ประเทศอินโดนีเซีย สามารถพัฒนาตัวเอง ให้กลายเป็นประเทศที่เหมาะสมกับการเปิดธุรกิจสตาร์ตอัป ได้อย่างรวดเร็ว
สังเกตได้จาก การจัดอันดับประเทศที่มีระบบนิเวศ เหมาะสมกับธุรกิจสตาร์ตอัป ซึ่งจัดอันดับโดย StartupBlink ทุกปี
ปี 2020 ประเทศอินโดนีเซีย อยู่ที่อันดับ 54
ปี 2021 ประเทศอินโดนีเซีย อยู่ที่อันดับ 45
ปี 2022 ประเทศอินโดนีเซีย อยู่ที่อันดับ 38
ปี 2021 ประเทศอินโดนีเซีย อยู่ที่อันดับ 45
ปี 2022 ประเทศอินโดนีเซีย อยู่ที่อันดับ 38
โดยเหตุผลเบื้องหลังที่ทำให้ ประเทศอินโดนีเซีย สามารถกลายเป็นแหล่งบ่มเพาะสตาร์ตอัปจำนวนมาก และกำลังพัฒนาตัวเองอยู่เรื่อย ๆ แบบนี้ ก็มาจาก
1.ตลาดขนาดใหญ่มาก
อินโดนีเซีย เป็นประเทศที่มีประชากรมากเป็นอันดับ 4 ของโลก ด้วยประชากรกว่า 273,523,615 คน แถมยังมีแนวโน้ม ว่าจะเติบโตได้อีกเรื่อย ๆ จากอัตราการเกิด ที่สูงถึง 16.8 คน ต่อ 1,000 คน
ด้วยตลาดที่มีขนาดใหญ่มากแบบนี้ ก็ได้ทำให้บริษัทสตาร์ตอัปสัญชาติอินโดนีเซียต่าง ๆ สามารถขยายขนาดกิจการ และฐานลูกค้าได้อย่างต่อเนื่อง
นอกจากนี้ ประเทศอินโดนีเซีย ยังมีประชากรที่อายุน้อยกว่า 24 ปี มากถึง 41% ซึ่งประชากรอายุน้อยเหล่านี้เอง ก็มักจะมีความคุ้นเคยกับเทคโนโลยีเป็นอย่างดี
สิ่งนี้เอง จะส่งผลดีต่อธุรกิจสตาร์ตอัป ที่ใช้เทคโนโลยีเป็นหลัก เพราะสามารถเข้าถึงลูกค้ากลุ่มใหญ่นี้ได้ง่าย อีกทั้งประชากรเหล่านี้ ก็อาจจะกลายมาเป็นแรงงานที่มีคุณภาพ ให้กับบริษัทสตาร์ตอัปต่าง ๆ ได้ในอนาคต
2.มีโอกาสทางธุรกิจหลายอย่าง
ประเทศอินโดนีเซีย เป็นประเทศกำลังพัฒนา ที่มีความท้าทายอยู่หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็น
-ปัญหาเรื่องการขนส่ง
จากสภาพภูมิประเทศของอินโดนีเซียที่เป็นเกาะ ทำให้การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เป็นไปได้อย่างยากลำบาก จนส่งผลให้ธุรกิจในอินโดนีเซีย ประสบปัญหาเรื่องการขนส่งไปด้วย
-ปัญหาการเข้าถึงบริการทางการเงิน
จากข้อมูลของ World Bank แสดงให้เห็นว่า มีชาวอินโดนีเซียเพียงแค่ 51% เท่านั้น ที่มีบัญชีธนาคาร ทำให้ชาวอินโดนีเซีย ไม่สามารถเข้าถึงบริการทางการเงิน ที่จำเป็นได้
-ปัญหาการเข้าถึงระบบสาธารณสุข
ประเทศอินโดนีเซีย กำลังขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์ สะท้อนจากอัตราส่วนของหมอต่อประชากร ซึ่งอยู่ที่หมอ 7 คน ต่อประชากร 10,000 คน เท่านั้น จนทำให้ประชาชนเข้าถึงการรักษาพยาบาลยากมาก
ความท้าทายเหล่านี้เอง คือโอกาสทางธุรกิจ ในสายตาของผู้ประกอบการ เนื่องจากธุรกิจสตาร์ตอัป จะต้องเป็นธุรกิจที่สามารถเข้าไปแก้ปัญหา หรือ Pain Point ของลูกค้าได้
ส่งผลให้เกิดธุรกิจสตาร์ตอัปจำนวนมาก เข้ามาแก้ปัญหาเหล่านี้ เช่น ธุรกิจขนส่งอย่าง J&T Express และ Gojek, ธุรกิจการเงินอย่าง Investree รวมไปถึงธุรกิจการแพทย์ครบวงจรอย่าง Halodoc เป็นต้น
การสนับสนุนจากรัฐบาล
ด้วยความที่ประธานาธิบดี Joko Widodo ของอินโดนีเซีย เคยเป็นนักธุรกิจท้องถิ่นมาก่อน ทำให้ประเทศอินโดนีเซีย มีนโยบายที่ให้ความสำคัญกับ ธุรกิจรายย่อย ซึ่งรวมไปถึงสตาร์ตอัปด้วย
โดยทางรัฐบาลของอินโดนีเซีย ได้ร่วมมือกับสถานศึกษาในประเทศ รวมไปถึงต่างประเทศ ในการสร้างโครงการบ่มเพาะผู้ประกอบการ เพื่อสนับสนุนผู้ที่ต้องการจะเปิดธุรกิจสตาร์ตอัป
นอกจากนี้ รัฐบาลอินโดนีเซีย ยังใช้เงินกว่า 10,300 ล้านบาท ในการตั้งกองทุน Merah Putih ขึ้นมา เพื่อเป็น Venture Capital สำหรับให้เงินทุนช่วยเหลือ ธุรกิจสตาร์ตอัปที่ใกล้จะเป็นยูนิคอร์นอีกด้วย
จากทั้งหมดนี้เอง จึงไม่ใช่เรื่องแปลก ที่ประเทศอินโดนีเซีย จะมีธุรกิจเกิดขึ้นใหม่มากมาย จนกลายเป็นประเทศ ที่มีจำนวนสตาร์ตอัป มากเป็นอันดับต้น ๆ ของโลกแบบนี้
ซึ่งก็ไม่แน่ว่า หลังจากนี้ต่อไป ประชาชนชาวไทยอย่างเรา ๆ อาจจะได้รู้จักกับธุรกิจสตาร์ตอัปที่น่าสนใจจากอินโดนีเซีย นอกเหนือจาก J&T Express, Traveloka และ Gojek ก็เป็นได้..
ปิดท้ายด้วยข้อมูลที่น่าสนใจ
Ajaib สตาร์ตอัประดับยูนิคอร์น สัญชาติอินโดนีเซีย มูลค่า 34,000 ล้านบาท ซึ่งให้บริการแพลตฟอร์มซื้อขายหุ้น มีผู้ร่วมก่อตั้งเป็นหญิงสาวชาวไทย ชื่อว่าคุณญาดา ปิยะจอมขวัญ
References
-https://www.smsbroadcaster.com/post/unicorn-startup-indonesia
-https://www.startupranking.com/countries
-https://www.startupblink.com/startupecosystemreport
-https://www.worldometers.info/world-population/population-by-country/
-https://www.macrotrends.net/countries/IDN/indonesia/birth-rate
-https://www.populationpyramid.net/indonesia/2022/#google_vignette
-https://www.worldbank.org/en/publication/globalfindex
-https://impact.economist.com/projects/health-inclusivity-index?chart=radial&country=Indonesia
-https://techsauce.co/tech-and-biz/a-techsauce-series-meet-the-indonesian-startup-scene-a-budding-ecosystem
-https://startupuniversal.com/country/indonesia/
-https://seads.adb.org/solutions/how-indonesia-creating-new-generation-entrepreneurs
-https://asia.nikkei.com/Spotlight/DealStreetAsia/Indonesia-s-Merah-Putih-fund-set-for-300m-first-close-in-Q1-of-2023
-https://www.longtunman.com/33509
-https://www.smsbroadcaster.com/post/unicorn-startup-indonesia
-https://www.startupranking.com/countries
-https://www.startupblink.com/startupecosystemreport
-https://www.worldometers.info/world-population/population-by-country/
-https://www.macrotrends.net/countries/IDN/indonesia/birth-rate
-https://www.populationpyramid.net/indonesia/2022/#google_vignette
-https://www.worldbank.org/en/publication/globalfindex
-https://impact.economist.com/projects/health-inclusivity-index?chart=radial&country=Indonesia
-https://techsauce.co/tech-and-biz/a-techsauce-series-meet-the-indonesian-startup-scene-a-budding-ecosystem
-https://startupuniversal.com/country/indonesia/
-https://seads.adb.org/solutions/how-indonesia-creating-new-generation-entrepreneurs
-https://asia.nikkei.com/Spotlight/DealStreetAsia/Indonesia-s-Merah-Putih-fund-set-for-300m-first-close-in-Q1-of-2023
-https://www.longtunman.com/33509