เมื่อก่อน การที่ประเทศหนึ่ง จะพิมพ์เงินออกมาใช้ในระบบ
มูลค่าของธนบัตรที่พิมพ์นั้น จะต้องไม่เกินกับสินทรัพย์ที่ประเทศนั้น ทำการค้ำประกันไว้
โดยสินทรัพย์เหล่านั้น ส่วนใหญ่ก็คือ “ทองคำ” จึงทำให้ระบบการเงินนี้
มีชื่อเรียกว่า “ระบบมาตรฐานทองคำ”

สรุป มาตรฐานการเงินโลก จากทองคำ ถึงดอลลาร์สหรัฐ
21 ต.ค. 2022
อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบัน ไม่มีประเทศใดในโลกแล้ว ที่ยังใช้ระบบมาตรฐานทองคำอยู่
เนื่องจากในปัจจุบันนี้ สกุลเงินของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ไม่ได้ถูกค้ำประกันด้วยทองคำ
แต่กลับถูกค้ำประกัน ด้วยสกุลเงินที่แข็งแกร่งที่สุดในโลก อย่างดอลลาร์สหรัฐแทน
เนื่องจากในปัจจุบันนี้ สกุลเงินของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ไม่ได้ถูกค้ำประกันด้วยทองคำ
แต่กลับถูกค้ำประกัน ด้วยสกุลเงินที่แข็งแกร่งที่สุดในโลก อย่างดอลลาร์สหรัฐแทน
และถ้าหากคุณสงสัยว่า อะไรคือจุดเริ่มต้น ที่ทำให้มาตรฐานการเงินโลก เปลี่ยนไปเช่นนี้ ?
BillionMoney จะย่อยให้เข้าใจ
BillionMoney จะย่อยให้เข้าใจ
มาตรฐานทองคำ เริ่มต้นขึ้นในช่วงปี 1821 โดยจักรวรรดิอังกฤษ
ก่อนที่จะแพร่ขยายไปทั่วโลก เมื่อช่วงทศวรรษ 1870
ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ จักรวรรดิอังกฤษ กำลังเจริญรุ่งเรืองมากที่สุด
ด้วยการขยายอาณานิคมไปทั่วทุกมุมโลก
ก่อนที่จะแพร่ขยายไปทั่วโลก เมื่อช่วงทศวรรษ 1870
ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ จักรวรรดิอังกฤษ กำลังเจริญรุ่งเรืองมากที่สุด
ด้วยการขยายอาณานิคมไปทั่วทุกมุมโลก
ซึ่งในระบบมาตรฐานทองคำ ประชาชนในประเทศ จะสามารถนำเงินกระดาษ
มาแลกเป็นทองคำได้ตลอด ด้วยอัตราที่กำหนดไว้ ทำให้ปริมาณเงินในประเทศ
จะถูกจำกัดไว้ ไม่ให้ผลิตออกมา เกินกว่ามูลค่าของทองคำที่มีอยู่ เพราะไม่เช่นนั้น
ประเทศจะไม่มีทองคำเพียงพอ สำหรับเวลาที่ประชาชนจะมาแลกคืน
มาแลกเป็นทองคำได้ตลอด ด้วยอัตราที่กำหนดไว้ ทำให้ปริมาณเงินในประเทศ
จะถูกจำกัดไว้ ไม่ให้ผลิตออกมา เกินกว่ามูลค่าของทองคำที่มีอยู่ เพราะไม่เช่นนั้น
ประเทศจะไม่มีทองคำเพียงพอ สำหรับเวลาที่ประชาชนจะมาแลกคืน
ระบบมาตรฐานทองคำ ถูกใช้เรื่อยมา จนกระทั่งในปี 1914 สงครามโลกครั้งที่ 1 เริ่มต้นขึ้น
ส่งผลให้หลาย ๆ ประเทศ ขาดแคลนทองคำ เนื่องจากในช่วงสงคราม ประเทศต่าง ๆ
จะไม่ทำการส่งออก และขนย้ายทองคำ เพื่อให้ประเทศของตน มีเงินเพียงพอสำหรับการทำสงคราม
ส่งผลให้หลาย ๆ ประเทศ ขาดแคลนทองคำ เนื่องจากในช่วงสงคราม ประเทศต่าง ๆ
จะไม่ทำการส่งออก และขนย้ายทองคำ เพื่อให้ประเทศของตน มีเงินเพียงพอสำหรับการทำสงคราม
จนกระทั่ง สงครามโลกครั้งที่ 1 จบลง และหลาย ๆ ประเทศ เริ่มฟื้นฟูเศรษฐกิจขึ้นมา
ก็ได้เกิดปัญหาว่า ทองคำที่เหลืออยู่น้อยนิด ได้ทำให้ปริมาณเงินในประเทศ
มีน้อยลงตามไปด้วย สวนทางกับความต้องการเงินที่มากขึ้น จากเศรษฐกิจที่กำลังเติบโต
ซึ่งจะทำให้อัตราดอกเบี้ยสูง จนไปขัดขวางการเติบโตของเศรษฐกิจ
ก็ได้เกิดปัญหาว่า ทองคำที่เหลืออยู่น้อยนิด ได้ทำให้ปริมาณเงินในประเทศ
มีน้อยลงตามไปด้วย สวนทางกับความต้องการเงินที่มากขึ้น จากเศรษฐกิจที่กำลังเติบโต
ซึ่งจะทำให้อัตราดอกเบี้ยสูง จนไปขัดขวางการเติบโตของเศรษฐกิจ
นั่นจึงส่งผลให้ ประเทศต่าง ๆ เริ่มเปลี่ยนจาก ระบบมาตรฐานทองคำ ที่ปริมาณเงินทั้งหมด
จะถูกค้ำประกันด้วยทองคำเท่านั้น มาเป็น “ระบบมาตราปริวรรตทองคำ” (Gold Exchange Standard)
จะถูกค้ำประกันด้วยทองคำเท่านั้น มาเป็น “ระบบมาตราปริวรรตทองคำ” (Gold Exchange Standard)
ระบบนี้จะทำให้ ธนาคารกลางของประเทศต่าง ๆ สามารถถือสกุลเงิน ของประเทศที่มีทองคำมาก
อย่างเช่น ดอลลาร์สหรัฐ หรือปอนด์สเตอร์ลิง ไว้ส่วนหนึ่ง
เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนทองคำ เนื่องจากสกุลเงินเหล่านี้ ก็มีค่าเท่ากับ การมีทองคำสำรอง
เพราะ 2 สกุลเงินนี้ สามารถนำไปแลกเป็นทองคำ กับอังกฤษ และสหรัฐอเมริกาได้เลย
อย่างเช่น ดอลลาร์สหรัฐ หรือปอนด์สเตอร์ลิง ไว้ส่วนหนึ่ง
เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนทองคำ เนื่องจากสกุลเงินเหล่านี้ ก็มีค่าเท่ากับ การมีทองคำสำรอง
เพราะ 2 สกุลเงินนี้ สามารถนำไปแลกเป็นทองคำ กับอังกฤษ และสหรัฐอเมริกาได้เลย
ดอลลาร์สหรัฐ และปอนด์สเตอร์ลิง ทวีความสำคัญในเศรษฐกิจโลกมากขึ้น จากระบบนี้
จนกระทั่งในปี 1944 ประเทศสัมพันธมิตรกว่า 44 ประเทศ ได้ประชุมกัน เพื่อวางระบบการเงินใหม่ของโลก
สำหรับใช้หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 จบลง และทั้งหมดได้ลงนามในสัญญา Bretton Woods
ที่จะทำให้ทั้ง 44 ประเทศ ต้องตรึงค่าเงินของตัวเองไว้กับดอลลาร์สหรัฐ
จนกระทั่งในปี 1944 ประเทศสัมพันธมิตรกว่า 44 ประเทศ ได้ประชุมกัน เพื่อวางระบบการเงินใหม่ของโลก
สำหรับใช้หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 จบลง และทั้งหมดได้ลงนามในสัญญา Bretton Woods
ที่จะทำให้ทั้ง 44 ประเทศ ต้องตรึงค่าเงินของตัวเองไว้กับดอลลาร์สหรัฐ
โดยแต่ละประเทศจะสามารถนำเงินดอลลาร์สหรัฐนี้เอง ไปแลกกับทองคำ ที่สหรัฐอเมริกาเก็บไว้ได้
ในอัตรา 35 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อ 1 ออนซ์ นั่นจึงทำให้ ดอลลาร์สหรัฐ ได้ขึ้นมาเป็นเงินสกุลหลักของโลก
แทนที่ปอนด์สเตอร์ลิงของอังกฤษ ที่กำลังเสื่อมอำนาจลง จากการเผชิญกับสงครามโลกถึง 2 ครั้ง
ในอัตรา 35 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อ 1 ออนซ์ นั่นจึงทำให้ ดอลลาร์สหรัฐ ได้ขึ้นมาเป็นเงินสกุลหลักของโลก
แทนที่ปอนด์สเตอร์ลิงของอังกฤษ ที่กำลังเสื่อมอำนาจลง จากการเผชิญกับสงครามโลกถึง 2 ครั้ง
หลังจากตกลงกันได้แล้ว ประเทศต่าง ๆ ก็พากันนำเงินดอลลาร์สหรัฐ
มาใช้เป็นสินทรัพย์ ในการค้ำประกันปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจ
มาใช้เป็นสินทรัพย์ ในการค้ำประกันปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจ
มาตรฐาน Bretton Woods ได้ช่วยให้แต่ละประเทศ สามารถค้าขาย และรับเงินช่วยเหลือ
จากสหรัฐอเมริกาได้ง่ายขึ้น เพราะตรึงค่าเงินของตัวเองไว้กับดอลลาร์สหรัฐ
ทำให้การฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ในหลายประเทศ เป็นไปอย่างรวดเร็ว
จากสหรัฐอเมริกาได้ง่ายขึ้น เพราะตรึงค่าเงินของตัวเองไว้กับดอลลาร์สหรัฐ
ทำให้การฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ในหลายประเทศ เป็นไปอย่างรวดเร็ว
อย่างไรก็ตาม สงครามเย็น ที่เกิดขึ้นหลังจาก สงครามโลกครั้งที่ 2 จบลง
ทำให้สหรัฐอเมริกา ต้องใช้เงินเพื่อทำสงครามตัวแทน ในหลาย ๆ ประเทศ
อย่างเช่น สงครามเวียดนาม ในช่วงทศวรรษ 1960-1970
ทำให้สหรัฐอเมริกา ต้องใช้เงินเพื่อทำสงครามตัวแทน ในหลาย ๆ ประเทศ
อย่างเช่น สงครามเวียดนาม ในช่วงทศวรรษ 1960-1970
สหรัฐอเมริกา จึงขาดดุลการคลังมากขึ้นเรื่อย ๆ จนต้องกู้ยืมเงินจากชาติอื่น
ส่งผลให้เงินดอลลาร์สหรัฐในมือของประเทศต่าง ๆ มีมากขึ้น และทำให้ปริมาณ
ของเงินดอลลาร์สหรัฐทั่วโลก เริ่มมีมากเกินกว่ามูลค่าของทองคำ
ส่งผลให้เงินดอลลาร์สหรัฐในมือของประเทศต่าง ๆ มีมากขึ้น และทำให้ปริมาณ
ของเงินดอลลาร์สหรัฐทั่วโลก เริ่มมีมากเกินกว่ามูลค่าของทองคำ
เมื่อเห็นแบบนี้ ประเทศเหล่านั้น ก็เกิดความไม่มั่นใจในเงินดอลลาร์สหรัฐขึ้น
ส่งผลให้ประเทศต่าง ๆ เช่น เยอรมนี ฝรั่งเศส และอิตาลี พากันนำเงินดอลลาร์สหรัฐ
มาแลกเป็นทองคำจำนวนมาก จนไม่สามารถรักษาอัตราส่วน 35 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อ 1 ออนซ์ ไว้ได้
ส่งผลให้ประเทศต่าง ๆ เช่น เยอรมนี ฝรั่งเศส และอิตาลี พากันนำเงินดอลลาร์สหรัฐ
มาแลกเป็นทองคำจำนวนมาก จนไม่สามารถรักษาอัตราส่วน 35 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อ 1 ออนซ์ ไว้ได้
ในช่วงที่เกิดเหตุการณ์นี้ คุณ Richard Nixon กำลังดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา
เมื่อเขาเห็นว่าสถานการณ์เป็นเช่นนี้ จึงได้ประชุมหารือวิธีการแก้ไขปัญหาโดยด่วน
เนื่องจากเงินดอลลาร์สหรัฐ กำลังอ่อนค่าเป็นอย่างมาก จนสุดท้ายแล้วก็ได้ข้อสรุปว่า
สหรัฐอเมริกา จะยกเลิกการแลกเงินดอลลาร์สหรัฐ เป็นทองคำ หรือที่เรียกว่า “Nixon Shock”
เมื่อเขาเห็นว่าสถานการณ์เป็นเช่นนี้ จึงได้ประชุมหารือวิธีการแก้ไขปัญหาโดยด่วน
เนื่องจากเงินดอลลาร์สหรัฐ กำลังอ่อนค่าเป็นอย่างมาก จนสุดท้ายแล้วก็ได้ข้อสรุปว่า
สหรัฐอเมริกา จะยกเลิกการแลกเงินดอลลาร์สหรัฐ เป็นทองคำ หรือที่เรียกว่า “Nixon Shock”
หลังจากประธานาธิบดี Nixon ออกประกาศเรื่องนี้ ในวันที่ 15 สิงหาคม 1971
กลุ่ม G10 ซึ่งเป็น 10 กลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำของโลก ก็ได้ตัดสินใจ
เลิกตรึงค่าเงินของตัวเองกับดอลลาร์สหรัฐ จนทำให้มาตรฐาน Bretton Woods ต้องล่มสลายไปในที่สุด และบทบาทของทองคำ ในฐานะเงินสำรองระหว่างประเทศ ก็ได้หมดความสำคัญลงไป
กลุ่ม G10 ซึ่งเป็น 10 กลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำของโลก ก็ได้ตัดสินใจ
เลิกตรึงค่าเงินของตัวเองกับดอลลาร์สหรัฐ จนทำให้มาตรฐาน Bretton Woods ต้องล่มสลายไปในที่สุด และบทบาทของทองคำ ในฐานะเงินสำรองระหว่างประเทศ ก็ได้หมดความสำคัญลงไป
การที่สหรัฐอเมริกา เลิกใช้ทองคำ ในการค้ำประกันสกุลเงินของตัวเองเช่นนี้
ก็ได้ทำให้ปัจจุบัน สหรัฐอเมริกา สามารถพิมพ์เงินออกมาได้ มากเท่าที่ต้องการ
สำหรับการกระตุ้นเศรษฐกิจ อย่างที่เราได้เห็นกันในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด 19 ที่ผ่านมา
เพราะไม่มีข้อจำกัด ว่าปริมาณเงิน จะต้องไม่เกินกว่า มูลค่าของสินทรัพย์ค้ำประกัน
ก็ได้ทำให้ปัจจุบัน สหรัฐอเมริกา สามารถพิมพ์เงินออกมาได้ มากเท่าที่ต้องการ
สำหรับการกระตุ้นเศรษฐกิจ อย่างที่เราได้เห็นกันในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด 19 ที่ผ่านมา
เพราะไม่มีข้อจำกัด ว่าปริมาณเงิน จะต้องไม่เกินกว่า มูลค่าของสินทรัพย์ค้ำประกัน
หรืออาจจะเรียกได้ว่า ดอลลาร์สหรัฐ ในตอนนี้ ถูกหนุนหลังอยู่ด้วย
“ความเชื่อมั่น” เท่านั้น มาเกือบ 50 ปีแล้ว
“ความเชื่อมั่น” เท่านั้น มาเกือบ 50 ปีแล้ว
แต่อย่างไรก็ตาม จากการที่ทุนสำรองระหว่างประเทศ ของประเทศต่าง ๆ ในปัจจุบัน
เกือบ 60% ยังคงเป็นสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ และการค้าขายระหว่างประเทศ
กว่า 88.3% ก็ยังคงทำผ่าน สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ เช่นเดียวกัน
ก็ได้แสดงให้เห็นว่า หลายประเทศทั่วโลก ยังคงเชื่อมั่น ในเงินดอลลาร์สหรัฐอยู่ อย่างไม่เสื่อมคลาย..
เกือบ 60% ยังคงเป็นสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ และการค้าขายระหว่างประเทศ
กว่า 88.3% ก็ยังคงทำผ่าน สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ เช่นเดียวกัน
ก็ได้แสดงให้เห็นว่า หลายประเทศทั่วโลก ยังคงเชื่อมั่น ในเงินดอลลาร์สหรัฐอยู่ อย่างไม่เสื่อมคลาย..
ปิดท้ายด้วยข้อมูลที่น่าสนใจ
จากข้อมูล ในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา สหรัฐอเมริกา เป็นประเทศที่มีทองคำสำรอง มากที่สุดในโลก
โดยมีทองคำมากถึง 8,133.47 ตัน ซึ่งคิดเป็นมูลค่าประมาณ 18 ล้านล้านบาท ในขณะที่ประเทศไทย
มีทองคำสำรอง มากเป็นอันดับที่ 21 ของโลก มากถึง 244.16 ตัน คิดเป็นมูลค่าประมาณ 540,000 ล้านบาท
จากข้อมูล ในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา สหรัฐอเมริกา เป็นประเทศที่มีทองคำสำรอง มากที่สุดในโลก
โดยมีทองคำมากถึง 8,133.47 ตัน ซึ่งคิดเป็นมูลค่าประมาณ 18 ล้านล้านบาท ในขณะที่ประเทศไทย
มีทองคำสำรอง มากเป็นอันดับที่ 21 ของโลก มากถึง 244.16 ตัน คิดเป็นมูลค่าประมาณ 540,000 ล้านบาท
References
-https://www.britannica.com/topic/gold-standard
-https://www.britannica.com/topic/gold-exchange-standard
-https://www.gold.org/history-gold/the-classical-gold-standard
-https://www.investopedia.com/terms/b/brettonwoodsagreement.asp
-https://history.state.gov/milestones/1969-1976/nixon-shock
-https://www.botlc.or.th/item/archive_collection/00000179017
-https://data.imf.org/?sk=E6A5F467-C14B-4AA8-9F6D-5A09EC4E62A4
-https://www.bookmyforex.com/blog/traded-currencies-world-2021/
-https://www.gold.org/goldhub/data/gold-reserves-by-country
-https://www.britannica.com/topic/gold-standard
-https://www.britannica.com/topic/gold-exchange-standard
-https://www.gold.org/history-gold/the-classical-gold-standard
-https://www.investopedia.com/terms/b/brettonwoodsagreement.asp
-https://history.state.gov/milestones/1969-1976/nixon-shock
-https://www.botlc.or.th/item/archive_collection/00000179017
-https://data.imf.org/?sk=E6A5F467-C14B-4AA8-9F6D-5A09EC4E62A4
-https://www.bookmyforex.com/blog/traded-currencies-world-2021/
-https://www.gold.org/goldhub/data/gold-reserves-by-country