ในชีวิตประจำวันของเรา อาจจะพบเจอกับเหตุการณ์ที่เรียกว่า “นิ้วเบียด”
จนพิมพ์ผิดเพี้ยนไปจากสิ่งที่ตั้งใจไว้ ซึ่งก็อาจไม่ได้ร้ายแรงมากนัก
หากเป็นแค่การพิมพ์ข้อความคุยกันกับเพื่อน

Fat-Finger กรณีศึกษา “นิ้วเบียด” ขายหุ้นผิด ขาดทุน 7,000 ล้าน
9 ต.ค. 2022
แต่วันนี้ เราลองมาดูอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจากนิ้วเบียด
ที่แทบจะร้ายแรงที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ของการลงทุน
เพราะมีนักซื้อขายหุ้นคนหนึ่ง พิมพ์ผิดจนบริษัทขาดทุนมากถึง 7,000 ล้านบาท..
ที่แทบจะร้ายแรงที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ของการลงทุน
เพราะมีนักซื้อขายหุ้นคนหนึ่ง พิมพ์ผิดจนบริษัทขาดทุนมากถึง 7,000 ล้านบาท..
เขาคนนั้น คือใคร
เรื่องนี้ เกิดขึ้นที่ไหน ?
BillionMoney จะมาสรุปให้แบบเข้าใจง่าย ๆ
เรื่องนี้ เกิดขึ้นที่ไหน ?
BillionMoney จะมาสรุปให้แบบเข้าใจง่าย ๆ
เหตุการณ์นิ้วเบียดระหว่างการเทรดนั้น มีชื่อเรียกว่า “Fat Finger Error”
ใช้อธิบายพฤติกรรมของเทรดเดอร์ ที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการซื้อขายหุ้น
คีย์คำสั่งซื้อขายผิดพลาด จากการกดผิดไปจากที่ตั้งใจไว้มาก
ใช้อธิบายพฤติกรรมของเทรดเดอร์ ที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการซื้อขายหุ้น
คีย์คำสั่งซื้อขายผิดพลาด จากการกดผิดไปจากที่ตั้งใจไว้มาก
นิ้วเบียด ถือเป็นความผิดพลาดที่เกิดจากมนุษย์อีกเรื่องหนึ่ง ที่มักจะถูกมองออกได้ง่าย
เนื่องจากการส่งคำสั่งซื้อขาย หากมากเกินไปจนผิดสังเกต ก็จะถูกยกเลิก ก่อนที่จะเกิดความเสียหายจริง
เนื่องจากการส่งคำสั่งซื้อขาย หากมากเกินไปจนผิดสังเกต ก็จะถูกยกเลิก ก่อนที่จะเกิดความเสียหายจริง
ยกตัวอย่างเช่น ในปี 2014
มีเทรดเดอร์ชาวญี่ปุ่นคนหนึ่ง ได้ส่งคำสั่งซื้อหุ้น เช่น Canon, Honda, Toyota และ Sony พร้อมทั้งบริษัทอื่น ๆ รวมกว่า 42 บริษัท ด้วยจำนวนเงินที่รวมแล้ว มากถึง 23 ล้านล้านบาท ในปัจจุบัน..
โดยในรายของ Toyota นั้น เทรดเดอร์นิรนามคนนี้ ได้ขอซื้อหุ้นมากถึง 1,960 ล้านหุ้น หรือคิดเป็น 57% ของหุ้นบริษัท Toyota ทั้งหมด
รู้หรือไม่ว่า จำนวนเงินที่เขาได้ทำการสั่งซื้อหุ้นนั้น ก็เป็นจำนวนเงินที่มากกว่า GDP ของประเทศสวีเดน ในตอนนั้นเสียอีก..
แต่โชคยังดีที่เทรดเดอร์คนนี้ ยังไม่ได้กลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของ Toyota และต้องเสียเงินเท่ากับขนาดเศรษฐกิจของประเทศหนึ่ง
เนื่องจาก เป็นการส่งคำสั่งซื้อขาย นอกตลาดหลักทรัพย์ หรือที่เรียกว่า OTC (Over the Counter)
ทำให้ผู้ได้รับคำสั่งซื้อทราบทันทีว่า นี่คือการกดผิด และคำสั่งซื้อนี้ก็ถูกปิดไป
ทำให้ผู้ได้รับคำสั่งซื้อทราบทันทีว่า นี่คือการกดผิด และคำสั่งซื้อนี้ก็ถูกปิดไป
แต่ถึงอย่างนั้น เทรดเดอร์อีกคนจากบริษัทหลักทรัพย์ Mizuho ไม่ได้โชคดีอย่างนั้น
โดยในวันที่ 8 ธันวาคม 2005 เทรดเดอร์ของ Mizuho คนนี้ ตั้งใจที่จะขายหุ้น J-Com
บริษัทจัดหางานแห่งหนึ่งของญี่ปุ่น ในราคา 610,000 เยน ต่อ 1 หุ้น
(ประมาณ 158,000 บาท ในปัจจุบัน)
โดยในวันที่ 8 ธันวาคม 2005 เทรดเดอร์ของ Mizuho คนนี้ ตั้งใจที่จะขายหุ้น J-Com
บริษัทจัดหางานแห่งหนึ่งของญี่ปุ่น ในราคา 610,000 เยน ต่อ 1 หุ้น
(ประมาณ 158,000 บาท ในปัจจุบัน)
แต่เขากลับส่งคำสั่งออกไปว่า ให้ทำการขายหุ้น J-Com
จำนวน 610,000 หุ้น ในราคา 1 เยน (ประมาณ 25 สตางค์ ในปัจจุบัน)
ส่งผลให้บริษัท ต้องขาดทุนอย่างยับเยินในทันที
จากการเทรดในครั้งนี้ กว่า 27,000 ล้านเยน
หรือคิดเป็นเงินไทยในตอนนี้ เท่ากับ 7,000 ล้านบาท เลยทีเดียว..
จำนวน 610,000 หุ้น ในราคา 1 เยน (ประมาณ 25 สตางค์ ในปัจจุบัน)
ส่งผลให้บริษัท ต้องขาดทุนอย่างยับเยินในทันที
จากการเทรดในครั้งนี้ กว่า 27,000 ล้านเยน
หรือคิดเป็นเงินไทยในตอนนี้ เท่ากับ 7,000 ล้านบาท เลยทีเดียว..
นอกจากนั้น การขายหุ้นมูลค่ามากขนาดนี้ ยังทำให้ตลาดหุ้นของญี่ปุ่น
เกิดความแตกตื่นอย่างหนัก จนนักลงทุนต่างพากันขายหุ้น ตาม ๆ กัน
เป็นเหตุให้ดัชนี Nikkei 225 ในวันนั้น ปรับตัวลงเกือบ 2%
เกิดความแตกตื่นอย่างหนัก จนนักลงทุนต่างพากันขายหุ้น ตาม ๆ กัน
เป็นเหตุให้ดัชนี Nikkei 225 ในวันนั้น ปรับตัวลงเกือบ 2%
แน่นอนว่าเทรดเดอร์คนนี้ ได้ถูกไล่ออก อย่างไม่ต้องสงสัย
แต่นอกจากเขาแล้ว ยังมีประธานตลาดหลักทรัพย์, หัวหน้าฝ่าย IT และผู้บริหารระดับสูง ของตลาดหลักทรัพย์โตเกียว ต้องลาออกเพื่อรับผิดชอบจากการที่ไม่สามารถ หยุดยั้งความเสียหาย จากการเทรดที่ผิดปกตินี้ได้
แต่นอกจากเขาแล้ว ยังมีประธานตลาดหลักทรัพย์, หัวหน้าฝ่าย IT และผู้บริหารระดับสูง ของตลาดหลักทรัพย์โตเกียว ต้องลาออกเพื่อรับผิดชอบจากการที่ไม่สามารถ หยุดยั้งความเสียหาย จากการเทรดที่ผิดปกตินี้ได้
ทำให้ในเวลาต่อมา ตลาดหุ้นต่าง ๆ ทั่วโลก ต้องเริ่มพัฒนาเทคโนโลยี
ในการตรวจจับ คำสั่งซื้อขายหุ้น ที่ผิดปกติเหล่านี้ อย่างจริงจัง
เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหาย ต่อบริษัทหลักทรัพย์ และตลาดหุ้นโดยรวม
ในการตรวจจับ คำสั่งซื้อขายหุ้น ที่ผิดปกติเหล่านี้ อย่างจริงจัง
เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหาย ต่อบริษัทหลักทรัพย์ และตลาดหุ้นโดยรวม
และเรื่องนี้เองก็ได้สอนเราว่า ให้มีสติในการกดซื้อขายหุ้นทุกครั้งเสมอ
เพราะเพียงแค่เสี้ยววินาที ที่เรากดผิดไปนั้น ก็อาจทำให้เราเสียเงิน
เป็นจำนวนมากได้ โดยไม่สามารถกลับไปแก้ไข อะไรได้เลย..
เพราะเพียงแค่เสี้ยววินาที ที่เรากดผิดไปนั้น ก็อาจทำให้เราเสียเงิน
เป็นจำนวนมากได้ โดยไม่สามารถกลับไปแก้ไข อะไรได้เลย..
References
-https://www.investopedia.com/terms/f/fat-finger-error.asp
-https://spectrum.ieee.org/japan-traders-617-billion-fat-finger-nearmiss-rattles-tokyo-market#toggle-gdpr
-https://www.theguardian.com/business/2005/dec/09/japan.internationalnews
-http://www.chinadaily.com.cn/english/doc/2005-12/10/content_502260.htm
-https://www.finextra.com/newsarticle/16081/mizuho-sues-tse-over-fat-finger-trade-botch-up
-https://www.investopedia.com/terms/f/fat-finger-error.asp
-https://spectrum.ieee.org/japan-traders-617-billion-fat-finger-nearmiss-rattles-tokyo-market#toggle-gdpr
-https://www.theguardian.com/business/2005/dec/09/japan.internationalnews
-http://www.chinadaily.com.cn/english/doc/2005-12/10/content_502260.htm
-https://www.finextra.com/newsarticle/16081/mizuho-sues-tse-over-fat-finger-trade-botch-up