หากพูดถึง “ประเทศเอลซัลวาดอร์”
หลาย ๆ คนน่าจะเคยเห็นผ่านตา ตามข่าวเศรษฐกิจกันมาบ้าง
เพราะเป็นประเทศแรกในโลก ที่ตั้งให้บิตคอยน์เป็นเงินสกุลหลักของประเทศ เมื่อปีที่แล้ว

สรุป เศรษฐกิจเอลซัลวาดอร์ จากจุดเริ่มต้น สู่ยุคแห่ง Bitcoin
15 ก.ย. 2022
แล้วเคยสงสัยกันไหมว่า
เอลซัลวาดอร์ มีประวัติศาสตร์ด้านเศรษฐกิจ และความเป็นมาอย่างไร
จนกว่าจะมาถึงวันที่ใช้บิตคอยน์เป็นเงินสกุลหลักได้
BillionMoney จะย่อยให้เข้าใจ
เอลซัลวาดอร์ มีประวัติศาสตร์ด้านเศรษฐกิจ และความเป็นมาอย่างไร
จนกว่าจะมาถึงวันที่ใช้บิตคอยน์เป็นเงินสกุลหลักได้
BillionMoney จะย่อยให้เข้าใจ
ก่อนอื่นเรามาดูข้อมูลพื้นฐานของเอลซัลวาดอร์กันก่อน
เอลซัลวาดอร์เป็นประเทศในอเมริกากลาง ที่มีพื้นที่ทั้งหมดอยู่ที่ 21,041 ตารางกิโลเมตร หรือเล็กกว่าประเทศไทย 24 เท่า และมีพื้นที่ติดอยู่กับประเทศฮอนดูรัส และประเทศกัวเตมาลา
เอลซัลวาดอร์เป็นประเทศในอเมริกากลาง ที่มีพื้นที่ทั้งหมดอยู่ที่ 21,041 ตารางกิโลเมตร หรือเล็กกว่าประเทศไทย 24 เท่า และมีพื้นที่ติดอยู่กับประเทศฮอนดูรัส และประเทศกัวเตมาลา
-GDP ต่อหัวอยู่ที่ 138,000 บาทต่อปี ในปี 2021
-มีจำนวนประชากรอยู่ที่ประมาณ 6.55 ล้านคน
-ดัชนีพัฒนาทุนมนุษย์ (Human Development Index) อยู่ที่ 0.6 ซึ่งจัดว่าค่อนไปทางกลางจนถึงน้อย
-มีจำนวนประชากรอยู่ที่ประมาณ 6.55 ล้านคน
-ดัชนีพัฒนาทุนมนุษย์ (Human Development Index) อยู่ที่ 0.6 ซึ่งจัดว่าค่อนไปทางกลางจนถึงน้อย
จากข้อมูลข้างต้นที่กล่าวมา เราจะเห็นว่า
ประเทศเอลซัลวาดอร์ ถูกจัดอยู่ในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา ที่มีรายได้ปานกลางระดับต่ำ
ซึ่งเอลซัลวาดอร์ยังต้องใช้เวลาอีกเป็นร้อยปี ถึงจะกลายเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว ที่มีรายได้ระดับสูงได้
เพราะอัตราการเติบโตของ GDP ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ก็ยังอยู่ในระดับ 2% ต่อปีเท่านั้น
ประเทศเอลซัลวาดอร์ ถูกจัดอยู่ในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา ที่มีรายได้ปานกลางระดับต่ำ
ซึ่งเอลซัลวาดอร์ยังต้องใช้เวลาอีกเป็นร้อยปี ถึงจะกลายเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว ที่มีรายได้ระดับสูงได้
เพราะอัตราการเติบโตของ GDP ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ก็ยังอยู่ในระดับ 2% ต่อปีเท่านั้น
ถ้าเรามาดูส่วนประกอบของ GDP ของประเทศเอลซัลวาดอร์กัน เราจะพบว่า
64.1% มาจากภาคบริการ
24.7% มาจากภาคอุตสาหกรรม
11.2% มาจากภาคการเกษตร
ซึ่งส่วนประกอบหลักของภาคบริการ ก็มาจากการท่องเที่ยวกว่า 30%
64.1% มาจากภาคบริการ
24.7% มาจากภาคอุตสาหกรรม
11.2% มาจากภาคการเกษตร
ซึ่งส่วนประกอบหลักของภาคบริการ ก็มาจากการท่องเที่ยวกว่า 30%
ซึ่งการจะทำความเข้าใจว่า นโยบายเศรษฐกิจของ เอลซัลวาดอร์ มาถึงจุดที่เปลี่ยนไปใช้ บิตคอยน์ เป็นสกุลเงินหลักได้อย่างไร เราจำเป็นจะต้องทำความเข้าใจ ประวัติศาสตร์ภาพรวมของประเทศเสียก่อน
เริ่มแรกนั้น เอลซัลวาดอร์เป็นประเทศอาณานิคมของจักรวรรดิสเปน
ก่อนที่จะสามารถปลดแอกออกจากสเปนได้ หลังการประกาศอิสรภาพ ในปี 1821
ก่อนที่จะสามารถปลดแอกออกจากสเปนได้ หลังการประกาศอิสรภาพ ในปี 1821
และในปี 1892 เอลซัลวาดอร์ ได้ปรับมาใช้สกุลเงินหลักที่ชื่อว่า “โคลอน”
ซึ่งได้ชื่อมาจาก Christopher Columbus นักสำรวจชาวอิตาลี ผู้ค้นพบทวีปอเมริกา
ซึ่งสกุลเงินนี้ก็กลายเป็นสกุลเงินหลัก ของประเทศเอลซัลวาดอร์ต่อมาอีกเป็นร้อยปี
ซึ่งได้ชื่อมาจาก Christopher Columbus นักสำรวจชาวอิตาลี ผู้ค้นพบทวีปอเมริกา
ซึ่งสกุลเงินนี้ก็กลายเป็นสกุลเงินหลัก ของประเทศเอลซัลวาดอร์ต่อมาอีกเป็นร้อยปี
ในอดีต โคลอนเคยถูกตรึงค่าเงินไว้กับดอลลาร์สหรัฐ โดย 2 โคลอน จะเท่ากับ 1 ดอลลาร์สหรัฐ
ที่ทำแบบนี้ก็เพราะ เอลซัลวาดอร์ ต้องการจะเอาการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของตัวเอง ไปผูกไว้กับการเติบโตของประเทศสหรัฐอเมริกา
ซึ่งทุกวันนี้ แม้จะผ่านมาเป็นร้อยปี เศรษฐกิจของเอลซัลวาดอร์ ก็ยังผูกติดอยู่กับประเทศสหรัฐอเมริกาอย่างแนบแน่น
ที่ทำแบบนี้ก็เพราะ เอลซัลวาดอร์ ต้องการจะเอาการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของตัวเอง ไปผูกไว้กับการเติบโตของประเทศสหรัฐอเมริกา
ซึ่งทุกวันนี้ แม้จะผ่านมาเป็นร้อยปี เศรษฐกิจของเอลซัลวาดอร์ ก็ยังผูกติดอยู่กับประเทศสหรัฐอเมริกาอย่างแนบแน่น
ต่อมาในปี 1929 ได้เกิดเหตุการณ์ The Great Depression ขึ้น ทำให้เศรษฐกิจของหลายประเทศในโลกต้องพบกับความยากลำบาก
เอลซัลวาดอร์เองก็เป็นหนึ่งในนั้น
เอลซัลวาดอร์เองก็เป็นหนึ่งในนั้น
จากเหตุการณ์ The Great Depression นี้เอง
ในปี 1934 เอลซัลวาดอร์ จึงได้มีการก่อตั้งธนาคารกลางของประเทศตัวเองขึ้นมา
เพื่อคอยควบคุม กำกับนโยบายและเสถียรภาพทางระบบการเงินของประเทศ
ชื่อว่า “The Central Reserve Bank of El Salvador”
ในปี 1934 เอลซัลวาดอร์ จึงได้มีการก่อตั้งธนาคารกลางของประเทศตัวเองขึ้นมา
เพื่อคอยควบคุม กำกับนโยบายและเสถียรภาพทางระบบการเงินของประเทศ
ชื่อว่า “The Central Reserve Bank of El Salvador”
โดยในช่วงแรก ธนาคารกลางแห่งนี้ ก็ยังทำหน้าที่คล้ายกับบริษัทมหาชน ที่ยังแสวงหากำไรอยู่บ้าง
จนในปี 1961 ก็ได้มีการแปลงให้เป็นธนาคารกลางของรัฐโดยสมบูรณ์
และได้รับอำนาจอย่างสมบูรณ์ ในการดูแล กำกับนโยบายและเสถียรภาพทางการเงินของประเทศ ตั้งแต่ปี 1970
จนในปี 1961 ก็ได้มีการแปลงให้เป็นธนาคารกลางของรัฐโดยสมบูรณ์
และได้รับอำนาจอย่างสมบูรณ์ ในการดูแล กำกับนโยบายและเสถียรภาพทางการเงินของประเทศ ตั้งแต่ปี 1970
แม้ว่าสถานการณ์โดยรวมของประเทศหลังจากนั้น กำลังเริ่มดูดีขึ้น
เพราะเศรษฐกิจเริ่มเติบโต และมีเสถียรภาพ
แต่ความขัดแย้งทางการเมืองก็ยังมีอยู่
โดยเกิดสงครามกลางเมืองขึ้น ซึ่งกินระยะเวลาถึง 13 ปี ในระหว่างปี 1979-1992
เพราะเศรษฐกิจเริ่มเติบโต และมีเสถียรภาพ
แต่ความขัดแย้งทางการเมืองก็ยังมีอยู่
โดยเกิดสงครามกลางเมืองขึ้น ซึ่งกินระยะเวลาถึง 13 ปี ในระหว่างปี 1979-1992
สงครามครั้งนี้ก็เป็นหนึ่งในสงครามตัวแทน ที่เกิดขึ้นในช่วงยุคสงครามเย็น
ที่มีฝ่ายประเทศสหรัฐอเมริกา สนับสนุนรัฐบาลของประเทศเอลซัลวาดอร์
ในขณะที่อีกฝ่ายคือ สหภาพโซเวียต สนับสนุนพรรค FMLN พรรคการเมืองฝ่ายซ้าย
ที่มีฝ่ายประเทศสหรัฐอเมริกา สนับสนุนรัฐบาลของประเทศเอลซัลวาดอร์
ในขณะที่อีกฝ่ายคือ สหภาพโซเวียต สนับสนุนพรรค FMLN พรรคการเมืองฝ่ายซ้าย
ผลจากสงครามที่ยืดเยื้อและไม่สิ้นสุด ทำให้ประเทศเอลซัลวาดอร์ ต้องบอบช้ำอย่างมาก
ผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมาก และเศรษฐกิจของประเทศแทบจะล่มสลาย
อีกทั้งยังมีอัตราเงินเฟ้อที่สูงกว่า 10% เป็นเวลาหลายปี
จนสุดท้าย ก็หลีกเลี่ยงไม่พ้นที่ทั้งสองฝ่าย ต้องหันมาเจรจา และนำมาสู่การเซ็นสัญญาสันติภาพกันในปี 1992
ผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมาก และเศรษฐกิจของประเทศแทบจะล่มสลาย
อีกทั้งยังมีอัตราเงินเฟ้อที่สูงกว่า 10% เป็นเวลาหลายปี
จนสุดท้าย ก็หลีกเลี่ยงไม่พ้นที่ทั้งสองฝ่าย ต้องหันมาเจรจา และนำมาสู่การเซ็นสัญญาสันติภาพกันในปี 1992
หลังจากนั้นในปี 2001 ประเทศเอลซัลวาดอร์ ภายใต้การนำของประธานาธิบดี Francisco Flores จากพรรค ARENA ก็ได้ประกาศกระบวนการ “Dollarization”
หรือก็คือการเปลี่ยนไปใช้สกุลเงิน ดอลลาร์สหรัฐ แทนที่ สกุลเงินโคลอน โดยสมบูรณ์
หรือก็คือการเปลี่ยนไปใช้สกุลเงิน ดอลลาร์สหรัฐ แทนที่ สกุลเงินโคลอน โดยสมบูรณ์
ซึ่งเท่ากับว่า เศรษฐกิจของเอลซัลวาดอร์ จะถูกผูกโยงอยู่กับเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาโดยสมบูรณ์
เพราะสกุลเงินดังกล่าว ก็มีผู้ควบคุมหลักคือ ธนาคารกลางสหรัฐ
เพราะสกุลเงินดังกล่าว ก็มีผู้ควบคุมหลักคือ ธนาคารกลางสหรัฐ
ปัจจัยหลักที่ทำให้ทางรัฐบาลเอลซัลวาดอร์ในขณะนั้น ต้องเปลี่ยนสกุลเงินก็เพราะ
ผลพวงจากสงครามที่ยืดเยื้อมากกว่า 10 ปี ทำให้มีชาวเอลซัลวาดอร์จำนวนมาก อพยพไปทำงานอยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา
ผลพวงจากสงครามที่ยืดเยื้อมากกว่า 10 ปี ทำให้มีชาวเอลซัลวาดอร์จำนวนมาก อพยพไปทำงานอยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา
ผู้อพยพเหล่านั้นก็มักจะโอนเงินกลับมาให้ครอบครัวที่อยู่ในประเทศ ในรูปของสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ
อีกทั้งการค้าระหว่างประเทศของเอลซัลวาดอร์ ก็มีความเหนียวแน่นกับประเทศสหรัฐอเมริกามาก
อีกทั้งการค้าระหว่างประเทศของเอลซัลวาดอร์ ก็มีความเหนียวแน่นกับประเทศสหรัฐอเมริกามาก
ปัจจัยเหล่านี้จึงทำให้ รัฐบาลของเอลซัลวาดอร์สมัยนั้น คาดว่า การเปลี่ยนสกุลเงินหลัก จะทำให้เอลซัลวาดอร์ได้รับผลประโยชน์ที่มากขึ้น ถ้าเปลี่ยนไปใช้ดอลลาร์สหรัฐ เป็นสกุลเงินหลัก
แต่ถ้าเราไปดูตัวเลขทางเศรษฐกิจในช่วงเวลาดังกล่าว เราก็จะพบว่า
ก่อนที่เอลซัลวาดอร์จะเปลี่ยนไปใช้สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐนั้น ประเทศไม่ได้มีปัญหาทางเศรษฐกิจแต่อย่างใด โดยดูได้จากตัวเลขอัตราการว่างงาน และอัตราเงินเฟ้อที่ลดลง หลังจากสงครามสิ้นสุดลงในปี 1992
ก่อนที่เอลซัลวาดอร์จะเปลี่ยนไปใช้สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐนั้น ประเทศไม่ได้มีปัญหาทางเศรษฐกิจแต่อย่างใด โดยดูได้จากตัวเลขอัตราการว่างงาน และอัตราเงินเฟ้อที่ลดลง หลังจากสงครามสิ้นสุดลงในปี 1992
ดังนั้น ผลจากนโยบายนี้ก็ต้องบอกว่า อาจจะได้ไม่คุ้มเสียสักเท่าไร เพราะนโยบายนี้เองยังสร้างผลเสียให้กับประเทศเอลซัลวาดอร์ด้วย โดยเอลซัลวาดอร์ได้สูญเสียความมีอิสระของนโยบายทางการเงินของประเทศไปอย่างสมบูรณ์ ผ่านกระบวนการ Dollarization หรือก็คือ เอลซัลวาดอร์จะไม่มีอำนาจ ในการกำหนดนโยบายทางการเงิน ผ่านการควบคุมอุปทานของเงิน และอัตราดอกเบี้ยอีกต่อไป
อ่านมาถึงตรงนี้ เราอาจสงสัยว่า จำนวนเงินที่แรงงานชาวเอลซัลวาดอร์ ในประเทศสหรัฐอเมริกา โอนกลับมายังประเทศบ้านเกิดนั้น มีมูลค่าเท่าไร ? ซึ่งจากข้อมูลของ World Bank ก็พบว่า
ในปี 2016 เอลซัลวาดอร์ ได้รับเงินโอนมากถึง 167,394 ล้านบาท หรือคิดเป็น 17% ของ GDP
ในปี 2019 ก็เพิ่มสูงขึ้นถึง 200,000 ล้านบาท โดยคิดเป็น 20% ของ GDP
ในปี 2019 ก็เพิ่มสูงขึ้นถึง 200,000 ล้านบาท โดยคิดเป็น 20% ของ GDP
ซึ่งในการโอนเงินกลับเข้ามาในประเทศแต่ละครั้ง ก็จะมีการเสียค่าธรรมเนียม ให้กับทางธนาคารในจำนวนที่ไม่น้อย
รัฐบาลของเอลซัลวาดอร์ ภายใต้การนำของประธานาธิบดี Nayib Bukele คนล่าสุด
จึงพยายามหาช่องทาง ที่จะลดค่าธรรมเนียม ที่ต้องจ่ายให้กับธนาคารลง
และเปิดช่องทางในการรับเทคโนโลยีใหม่มาใช้
จึงพยายามหาช่องทาง ที่จะลดค่าธรรมเนียม ที่ต้องจ่ายให้กับธนาคารลง
และเปิดช่องทางในการรับเทคโนโลยีใหม่มาใช้
จึงเป็นเหตุผลให้รัฐบาลเอลซัลวาดอร์ มีนโยบายให้ บิตคอยน์ กลายเป็นสกุลเงินหลักใหม่ของประเทศ
และสามารถใช้งานได้อย่างถูกกฎหมาย ในการชำระค่าสินค้าและบริการ
เพราะการโอนเงินเข้ามาในประเทศ ในรูปของบิตคอยน์ ก็จะมีการเสียค่าธรรมเนียมในอัตราที่ถูกลง
และสามารถใช้งานได้อย่างถูกกฎหมาย ในการชำระค่าสินค้าและบริการ
เพราะการโอนเงินเข้ามาในประเทศ ในรูปของบิตคอยน์ ก็จะมีการเสียค่าธรรมเนียมในอัตราที่ถูกลง
โดยรัฐบาลคาดหวังให้สามารถใช้ร่วมกับสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ในขณะเดียวกัน ก็คาดว่านโยบายนี้ จะช่วยลดความเสี่ยง จากการพึ่งพาสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ แต่เพียงอย่างเดียวลงด้วย
ในขณะเดียวกัน ก็คาดว่านโยบายนี้ จะช่วยลดความเสี่ยง จากการพึ่งพาสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ แต่เพียงอย่างเดียวลงด้วย
อีกทั้งนโยบายดังกล่าว จะสามารถผลักดันให้ประชาชนเอลซัลวาดอร์บางกลุ่ม ที่ยังมีความล้าหลังในการเข้าถึงเทคโนโลยี พยายามปรับตัวให้รู้จัก และรับเอาเทคโนโลยีใหม่นี้เข้ามาใช้
แม้ว่าประชาชนกว่า 70% ของประเทศเอลซัลวาดอร์ จะไม่มีบัญชีเงินฝากธนาคารเป็นของตนเอง
แต่ทางรัฐบาลเอลซัลวาดอร์ ก็ได้พยายามกระตุ้นให้ประชาชนรับเทคโนโลยีใหม่นี้มาใช้
โดยสร้างแรงจูงใจว่า ใครที่ดาวน์โหลดแอปพลิเคชันกระเป๋าเงินดิจิทัล Chivo ของรัฐบาลมาใช้ ก็จะได้รับบิตคอยน์ ที่มีมูลค่า 30 ดอลลาร์สหรัฐ มาจับจ่ายใช้สอยฟรี
แต่ทางรัฐบาลเอลซัลวาดอร์ ก็ได้พยายามกระตุ้นให้ประชาชนรับเทคโนโลยีใหม่นี้มาใช้
โดยสร้างแรงจูงใจว่า ใครที่ดาวน์โหลดแอปพลิเคชันกระเป๋าเงินดิจิทัล Chivo ของรัฐบาลมาใช้ ก็จะได้รับบิตคอยน์ ที่มีมูลค่า 30 ดอลลาร์สหรัฐ มาจับจ่ายใช้สอยฟรี
แต่การพยายามจะเปลี่ยนผ่านครั้งนี้ ก็อาจไม่ได้แก้ไขปัญหาหลักของประเทศ
อีกทั้งยังมีความเสี่ยงที่สูงมากเช่นกัน
อีกทั้งยังมีความเสี่ยงที่สูงมากเช่นกัน
เพราะเอลซัลวาดอร์ก็ยังไม่มีอำนาจ ในการกำหนดนโยบายทางการเงินอยู่เช่นเดิม
และการที่ราคาของบิตคอยน์ มีความผันผวนสูงมาก ก็ทำให้ประชาชนส่วนมากของเอลซัลวาดอร์ ยังคงใช้สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ ในการใช้จ่ายประจำวัน
และการที่ราคาของบิตคอยน์ มีความผันผวนสูงมาก ก็ทำให้ประชาชนส่วนมากของเอลซัลวาดอร์ ยังคงใช้สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ ในการใช้จ่ายประจำวัน
นอกจากนี้ ภาคเศรษฐกิจที่แท้จริงของเอลซัลวาดอร์ ที่ยังนับว่าอ่อนแอ
ซึ่งถ้าเราไปดูภาพใหญ่ทางเศรษฐกิจ ของประเทศเอลซัลวาดอร์ ในช่วง 20 ปีย้อนหลัง
เราก็จะพบว่า ประเทศเอลซัลวาดอร์ขาดดุลการค้าทุกปี
ซึ่งถ้าเราไปดูภาพใหญ่ทางเศรษฐกิจ ของประเทศเอลซัลวาดอร์ ในช่วง 20 ปีย้อนหลัง
เราก็จะพบว่า ประเทศเอลซัลวาดอร์ขาดดุลการค้าทุกปี
แม้จะมีอัตราการรู้หนังสือที่เพิ่มขึ้นมาตลอด จนล่าสุดอยู่ที่ 90% แล้ว
แต่ดัชนีการพัฒนาทุนมนุษย์ ก็ยังถือว่าเพิ่มขึ้นไม่มาก
อีกทั้ง อัตราการว่างงานภายในประเทศ ก็สูงถึง 6%
แต่ดัชนีการพัฒนาทุนมนุษย์ ก็ยังถือว่าเพิ่มขึ้นไม่มาก
อีกทั้ง อัตราการว่างงานภายในประเทศ ก็สูงถึง 6%
ทำให้มีความเป็นไปได้ว่า เอลซัลวาดอร์ มีโอกาสที่ยังขาดแรงงานทักษะสูง
และปัจจัยทางด้านเงินทุน ที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตให้กับประเทศได้
และปัจจัยทางด้านเงินทุน ที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตให้กับประเทศได้
ก็เป็นที่น่าสนใจว่า กระบวนการเปลี่ยนผ่านนี้ จะสำเร็จและยั่งยืนหรือไม่ ในระยะยาว
เพราะเหล่าประเทศที่พัฒนาแล้วในอดีต ก็ล้วนเจริญก้าวหน้า มาจากการพัฒนาเศรษฐกิจที่แท้จริง
ซึ่งประกอบไปด้วยการมีทุนมนุษย์ที่สูง และการมีเทคโนโลยีที่ก้าวหน้า
เพราะเหล่าประเทศที่พัฒนาแล้วในอดีต ก็ล้วนเจริญก้าวหน้า มาจากการพัฒนาเศรษฐกิจที่แท้จริง
ซึ่งประกอบไปด้วยการมีทุนมนุษย์ที่สูง และการมีเทคโนโลยีที่ก้าวหน้า
ในขณะที่ประเทศเอลซัลวาดอร์ กำลังเดิมพันกับระบบการเงินใหม่ ที่ไม่มีใครเคยลองใช้มาก่อน..
References:
-https://www.forbes.com/sites/rogerhuang/2021/06/27/an-economic-history-of-el-salvadors-adoption-of-bitcoin/?sh=704e90493fd4
-https://www.the101.world/crypto-mon-banking/
-https://borgenproject.org/remittances-to-el-salvador/
-http://suffragio.org/2013/11/11/el-salvadors-experience-in-dollarization/
-https://en.wikipedia.org/wiki/El_Salvador
-https://www.macrotrends.net/countries/SLV/el-salvador/unemployment-rate
-https://www.macrotrends.net/countries/SLV/el-salvador/inflation-rate-cpi
-https://www.macrotrends.net/countries/SLV/el-salvador/gdp-growth-rate
-https://countryeconomy.com/hdi/el-salvador
-https://www.macrotrends.net/countries/SLV/el-salvador/trade-balance-deficit
-https://www.nber.org/papers/w29968
-Monetary Policy, Inflation, and the Business Cycle: An Introduction to the New Keynesian Framework and Its Applications (2008) โดย Jordi Gali
-https://perfectdailygrind.com/2020/11/a-guide-to-coffee-production-in-el-salvador/
-https://www.macrotrends.net/countries/SLV/el-salvador/foreign-direct-investment#
-https://www.forbes.com/sites/rogerhuang/2021/06/27/an-economic-history-of-el-salvadors-adoption-of-bitcoin/?sh=704e90493fd4
-https://www.the101.world/crypto-mon-banking/
-https://borgenproject.org/remittances-to-el-salvador/
-http://suffragio.org/2013/11/11/el-salvadors-experience-in-dollarization/
-https://en.wikipedia.org/wiki/El_Salvador
-https://www.macrotrends.net/countries/SLV/el-salvador/unemployment-rate
-https://www.macrotrends.net/countries/SLV/el-salvador/inflation-rate-cpi
-https://www.macrotrends.net/countries/SLV/el-salvador/gdp-growth-rate
-https://countryeconomy.com/hdi/el-salvador
-https://www.macrotrends.net/countries/SLV/el-salvador/trade-balance-deficit
-https://www.nber.org/papers/w29968
-Monetary Policy, Inflation, and the Business Cycle: An Introduction to the New Keynesian Framework and Its Applications (2008) โดย Jordi Gali
-https://perfectdailygrind.com/2020/11/a-guide-to-coffee-production-in-el-salvador/
-https://www.macrotrends.net/countries/SLV/el-salvador/foreign-direct-investment#