“ไม่ขาย ไม่ขาดทุน” เป็นหนึ่งในประโยคคลาสสิกในโลกการลงทุน
โดยส่วนใหญ่ประโยคดังกล่าว มักจะเป็นคำที่ใช้ปลอบประโลมตัวเอง
เวลาเราเห็นราคาหุ้น ปรับตัวลดลงไปต่ำกว่าจุดที่ตัวเองซื้อ
หรือภาษาบ้าน ๆ เลยก็คือ เมื่อเราติดดอย..

Anchoring Bias อคติการลงทุน ที่ทำให้เราติดดอย
16 ส.ค. 2022
เราเคยสงสัยกันไหมว่า สาเหตุอะไรกัน
ที่ทำให้หลายคนมักติดดอย ?
ที่ทำให้หลายคนมักติดดอย ?
หลายคนอาจจะมีคำตอบอยู่ในใจว่า การติดดอยเป็นการรอโอกาส ที่ราคาหุ้นจะฟื้นตัวได้สูงกว่าจุดที่เราซื้อไว้
ทำให้หลายคนยอมรอคอยการฟื้นตัวของราคา ดีกว่าการขายขาดทุนไปเลย
ทำให้หลายคนยอมรอคอยการฟื้นตัวของราคา ดีกว่าการขายขาดทุนไปเลย
แต่รู้หรือไม่ว่า มีพฤติกรรมทางการเงิน
ที่สามารถอธิบายสาเหตุของการติดดอย ได้อย่างน่าสนใจ
โดยพฤติกรรมดังกล่าว รู้จักกันในชื่อว่า “Anchoring Bias”
ที่สามารถอธิบายสาเหตุของการติดดอย ได้อย่างน่าสนใจ
โดยพฤติกรรมดังกล่าว รู้จักกันในชื่อว่า “Anchoring Bias”
คำว่า Anchor แปลว่า สมอเรือ เปรียบเสมือนอคติในการลงทุน
ที่มักจะมีความฝังใจกับต้นทุนทางการเงิน หรือข้อมูลใดข้อมูลหนึ่งมากเกินไป
ที่มักจะมีความฝังใจกับต้นทุนทางการเงิน หรือข้อมูลใดข้อมูลหนึ่งมากเกินไป
โดยข้อมูลนั้นก็มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของนักลงทุน ทำให้นักลงทุนอาจละเลยข้อเท็จจริงอื่น ที่มีส่วนสำคัญต่อการลงทุน
ยกตัวอย่าง กรณีการลงทุนในหุ้นบริษัท Nokia
หากเราลงทุนในหุ้น Nokia เมื่อช่วงปี 2007
โดยที่เรายังคงยึดติดกับราคาหุ้นที่เราเพิ่งซื้อมา พร้อมคาดหวังให้ราคาหุ้นฟื้นตัวกลับขึ้นมา
เราอาจจะละเลยข้อเท็จจริงที่ว่า ช่วงนั้น Nokia ตัดสินใจลงทุนผิดพลาด
และกำลังสูญเสียส่วนแบ่งการตลาดโทรศัพท์มือถือให้กับ Apple
โดยที่เรายังคงยึดติดกับราคาหุ้นที่เราเพิ่งซื้อมา พร้อมคาดหวังให้ราคาหุ้นฟื้นตัวกลับขึ้นมา
เราอาจจะละเลยข้อเท็จจริงที่ว่า ช่วงนั้น Nokia ตัดสินใจลงทุนผิดพลาด
และกำลังสูญเสียส่วนแบ่งการตลาดโทรศัพท์มือถือให้กับ Apple
ผลลัพธ์ก็คือ เราจะขาดทุนมากถึง 85%
แม้เราจะรอมานานจนถึงปัจจุบัน หรือยาวนานถึง 15 ปี
ราคาของหุ้น Nokia ก็ยังไม่สามารถฟื้นกลับไปสู่จุดสูงสุดแบบเดิมได้อีก
แม้เราจะรอมานานจนถึงปัจจุบัน หรือยาวนานถึง 15 ปี
ราคาของหุ้น Nokia ก็ยังไม่สามารถฟื้นกลับไปสู่จุดสูงสุดแบบเดิมได้อีก
แม้แต่ผู้ที่ทำอาชีพนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ หรือแม้แต่ผู้จัดการกองทุนเอง ก็อาจจะมี Anchoring Bias ได้
เพราะความมีอคติลักษณะนี้ สามารถเกิดขึ้นได้ในทุกขั้นตอนการวิเคราะห์หลักทรัพย์ เช่น การคาดการณ์ผลประกอบการในอนาคต หรือแม้แต่การคาดการณ์ความเสี่ยงในอนาคต
เพราะความมีอคติลักษณะนี้ สามารถเกิดขึ้นได้ในทุกขั้นตอนการวิเคราะห์หลักทรัพย์ เช่น การคาดการณ์ผลประกอบการในอนาคต หรือแม้แต่การคาดการณ์ความเสี่ยงในอนาคต
แล้วเราจะสามารถหลีกเลี่ยง Anchoring Bias ได้อย่างไร ?
Anchoring Bias มักจะเกิดขึ้นโดยที่เราไม่รู้ตัว
ดังนั้นการตัดสินใจให้ช้าลง ก็จะช่วยให้อคติมีผลต่อการตัดสินใจของเราน้อยลง
หรือการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับคนอื่น ก็เป็นสิ่งที่ช่วยให้เราลดอคติลงไปได้ เช่นกัน
ดังนั้นการตัดสินใจให้ช้าลง ก็จะช่วยให้อคติมีผลต่อการตัดสินใจของเราน้อยลง
หรือการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับคนอื่น ก็เป็นสิ่งที่ช่วยให้เราลดอคติลงไปได้ เช่นกัน
แต่ Anchoring Bias ก็ไม่ได้มีแต่โทษเสมอไป
เพราะจริง ๆ แล้ว เราสามารถนำความรู้เรื่อง Anchoring Bias มาปรับใช้กับเรื่องการค้าขายได้เช่นกัน เช่น การจัดโปรโมชัน
เพราะจริง ๆ แล้ว เราสามารถนำความรู้เรื่อง Anchoring Bias มาปรับใช้กับเรื่องการค้าขายได้เช่นกัน เช่น การจัดโปรโมชัน
เพราะผู้ซื้อมักจะเปรียบเทียบราคา โดยใช้ราคาที่เห็นครั้งแรกเป็นราคาอ้างอิงในการตัดสินใจ
ดังนั้นเราจึงควรตั้งราคาขายครั้งแรก ให้สูงกว่าที่ตั้งใจไว้ เพื่อให้ลูกค้ารู้สึกคุ้มค่า เมื่อเราจัดโปรโมชัน
ในเรื่องของการลงทุน หากเรายึดมั่นในข้อมูลที่เราวิเคราะห์มาอย่างมีสติ
ก็อาจช่วยให้เราถือหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานดีได้ยาวนาน จนข้ามผ่านวิกฤติเศรษฐกิจไปได้
ก็อาจช่วยให้เราถือหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานดีได้ยาวนาน จนข้ามผ่านวิกฤติเศรษฐกิจไปได้
จะเห็นได้ว่า Anchoring Bias มีทั้งประโยชน์และโทษ
หากเรามีสติและรู้จักปรับใช้ความรู้เหล่านี้ ให้เป็นประโยชน์
เราก็จะมีภูมิคุ้มกันมากขึ้น มีการตัดสินใจที่เป็นเหตุเป็นผลมากขึ้น
และนั่นก็อาจจะทำให้เรา เสี่ยงที่จะติดดอยน้อยลง ก็เป็นได้..
หากเรามีสติและรู้จักปรับใช้ความรู้เหล่านี้ ให้เป็นประโยชน์
เราก็จะมีภูมิคุ้มกันมากขึ้น มีการตัดสินใจที่เป็นเหตุเป็นผลมากขึ้น
และนั่นก็อาจจะทำให้เรา เสี่ยงที่จะติดดอยน้อยลง ก็เป็นได้..